Author Topic: เตือนขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไทย เดินผิดทาง  (Read 2779 times)

Offline ToppyRacingClub

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 1382
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign/20120327/443937/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87.html

เตือนขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไทย เดินผิดทาง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ผู้เชี่ยวชาญติงนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ "ไทย" เดินผิดทาง แค่ปรับตามเงินเฟ้อ แนะรัฐปรับโครงสร้างเพิ่มขีดแข่งขัน-หนุนวิจัย

"ดีพีเอ" รายงานว่า ไทยจะร่วมเทรนด์ปรับขึ้นค่าแรงเช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยวันที่ 1 เมษายน ไทยเตรียมปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มอีก 40% ทั่วประเทศ ส่งผลทำให้กรุงเทพฯ ภูเก็ต และอีก 5 จังหวัด ค่าจ้างเพิ่มเป็นวันละ 300 บาท (ประมาณ 295 ดอลลาร์) ก่อนจะปรับเพิ่มค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า

ขณะที่ค่าแรงในจีนและหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็อยู่ในช่วงขาขึ้นเช่นกัน เฉพาะในไตรมาสแรกของปีนี้ ค่าจ้างในจีนปรับเพิ่มไปกว่า 10% ในเซี่ยงไฮ้แตะ 230 ดอลลาร์ต่อเดือน เสิ่นเจิ้น 240 ดอลลาร์ และปักกิ่ง 200 ดอลลาร์

ส่วนในมะนิลา ฟิลิปปินส์ ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 10 ดอลลาร์ ค่าแรงในจาการ์ตาของอินโดนีเซียอยู่ที่ 169 ดอลลาร์ต่อเดือน เวียดนามปรับค่าแรงขั้นต่ำอยุ่ที่ 94 ดอลลาร์ต่อเดือน กัมพูชาและพม่า ค่าจ้างรายเดือนอยู่ที่ราว 66 ดอลลาร์ และ 50 ดอลลาร์ ขณะที่มาเลเซียเตรียมกำหนดให้อยู่ที่เดือนละ 266-300 ดอลลาร์ ในวันที่ 1 พฤษภาคม

แต่ "จอห์น ริตชอตต์" ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานสัมพันธ์ จากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ระบุว่า กรณีของไทย แม้จะปรับขึ้นค่าแรง แต่เดินไปในทางที่ผิด เพราะการตัดสินใจเรื่องค่าแรง 300 บาท มาจากการเมือง ไม่ใช่เศรษฐกิจ ทางที่ดีกว่าควรให้ตัวแทนแรงงานมีส่วนร่วมเจรจาเพื่อผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น

เขามองว่า การปรับขึ้นค่าแรงล่วงเลยเวลาไปแล้ว ค่าแรงเฉลี่ยในไทยซึ่งปรับตามเงินเฟ้อ ลดลงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จึงชัดเจนว่ามีความจำเป็นต้องปรับขึ้น

นอกจากนี้ ไทยเผชิญเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ซึ่งส่งผลให้โรงงานหลายร้อยแห่งต้องปิดตัว และกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ เมื่อโรงงานเริ่มเปิดก็มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่รัฐบาลก็ปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 25% เหลือ 23%

นักเศรษฐศาสตร์ แนะว่า รัฐบาลจำเป็นต้องทำอะไรมากกว่าแค่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะมาตรการเหล่านี้ลดทอนขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือไม่ก็ส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภคในรูปของการปรับขึ้นราคา และส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ประเด็นหลักของไทยคือการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม โดยเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และนำเสนอมาตรการจูงใจทางภาษีให้กับบริษัทที่ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ว่า ในด้านหนึ่งจะเป็นผลดีต่อกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ทำให้มาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ราคาสินค้าและบริการหลายประเภทคงทยอยปรับขึ้นในระยะต่อไป ตามต้นทุนของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น โดยการปรับค่าจ้างขั้นต่ำนี้อาจมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อในปี 2555 สูงขึ้นประมาณ 0.6-0.7% โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 3.9%

ขณะที่การปรับฐานค่าจ้างจะทำให้ต้นทุนแรงงานของไทยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน โดยใกล้เคียงกับมาเลเซีย แต่สูงกว่าอินโดนีเซีย 2 เท่า สูงกว่าเวียดนามและกัมพูชา 3-4 เท่า และสูงกว่าพม่าเกือบ 9 เท่า แต่ปัจจุบันผลิตภาพแรงงานไทยสูงกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เพียง 1.5 เท่า สูงกว่าลาวและเวียดนาม 2.5-3 เท่า สูงกว่ากัมพูชาและพม่าประมาณ 4-5 เท่า