Author Topic: 10 วิธีกินอยู่ให้ฟื้นไข้ไวๆ (เวลาไม่สบายŨ  (Read 6713 times)

Offline ToppyRacingClub

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 1382
FW Mail

...
ท่านอาจารย์จินต ณา จตุรวิทย์ นักกำหนดอาหารและนักวิจัยโครงการฯ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยตีพิมพ์เรื่อง "กินดี สู้เอดส์" ในวารสาร 'HealthToday' ฉบับกุมภาพันธ์ 2552
เนื้อหา ของเรื่องเหมาะกับท่านที่เป็นเอดส์ด้วย เจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคอื่นๆ เช่น วัณโรคปอด มะเร็งหลายชนิด ฯลฯ ด้วย หรือท่านที่มีญาติผู้ใหญ่สูงอายุที่บ้าน (ไม่จำเป็นต้องเป็นเอดส์ก็นำองค์ความรู้ไปใช้ได้) ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
...

แนวคิดสำคัญ ในการกินให้ฟื้นไข้ไวๆ คือ "กำลังงาน" หรือแคลอรีในอาหาร (แป้ง โปรตีน ไขมัน) ต้องมากพอ จะอยากหรือไม่อยากอาหาร... ถ้าอยากให้ฟื้นไข้ไวๆ ก็ต้องกินลงไปได้แก่
(1). ช่วงที่ติดเชื้อไม่รุนแรง
ต้องการกำลังงานเพิ่มขึ้น 10%
เทียบเท่าความต้องการอาหารว่างเพิ่มขึ้น 1 มื้อต่อวัน เช่น นมไขมันต่ำ 1 แก้ว แซนวิชทูน่า 1 ชิ้น ฯลฯ
(2). ช่วงที่ติดเชื้อรุนแรง หรือมีโรคแทรกซ้อน
ความต้องการกำลังงานเพิ่มขึ้น 30% 
เทียบเท่าอาหารว่างเพิ่มขึ้น 3 มื้อต่อวัน หรืออาหารหลักเพิ่มขึ้น 1 มื้อต่อวัน
...

วัตถุดิบสำคัญในการเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคต้องใช้โปรตีน จึงต้องกินอาหารกลุ่มนี้ (เนื้อ-ไข่-นม-ถั่ว-งา)ให้เพียงพอทุกวัน
ธรรมชาติ อย่างหนึ่งของความเจ็บป่วยเรื้อรังคือ กล้ามเนื้อจะลีบลงไป ทำให้สัดส่วนมวลกล้ามเนื้อต่อน้ำหนักตัวลดลง สัดส่วนมวลไขมันต่อน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
...

เวลาคนเราเจ็บป่วยนานๆ หรือเป็นโรคเรื้อรัง... ร่างกายจะดึง "โปรตีน" จากกล้ามเนื้อไปใช้สร้างสารภูมิต้านทาน และสร้างพลังงาน
วิธี ที่ดีที่สุดคือ ออกกำลังประเภท "ต้านแรง" เช่น ยกน้ำหนัก ดึงสปริง ดึงยางยืด เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส ฯลฯ ก่อนป่วย เพื่อให้ร่างกายมี "มวลกล้ามเนื้อ" สำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
...
ทีนี้ถ้าป่วย ไข้ไปแล้ว... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่าน และนักกายภาพบำบัดก่อนว่า ควรออกกำลังต้านแรงหรือไม่ อย่างไรดี เพื่อป้องกันไม่ให้มวลกล้ามเนื้อลีบลงไปจนถึงจุดอันตราย
หลักการสำคัญในการกินให้ฟื้นไข้ไวๆ ได้แก่
...

(1). กินอาหารให้ครบทุกหมู่ และกินอาหารหลายๆ ชนิด หมุนเวียนสับเปลี่ยนกัน เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน และลดโอกาสได้รับสารเคมีตกค้างชนิดเดิมซ้ำซากเป็นเวลานาน
...

(2). กินข้าวสลับแป้งเป็นบางมื้อ เน้นธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท (เติมรำ) ปริมาณข้าวของผู้ชายคือ ประมาณ 3 ทัพพีต่อมื้อ ผู้หญิงมื้อละ 2 ทัพพี ถ้ากินวันละ 3 มื้อ
คน ที่ไม่สบายนานๆ หลายๆ คนกินอาหารได้มื้อละไม่มาก... การกินมื้อละน้อยๆ บ่อยๆ ครั้ง เช่น เพิ่มเป็นวันละ 5-6 มื้อ ฯลฯ อาจช่วยให้ได้กำลังงานมากพอที่จะต่อสู้กับโรคร้ายได้นานๆ
การ กินอาหารทั้งของแข็ง เช่น ข้าว ผัก ฯลฯ และของเหลว เช่น โอวัลติน ไมโล นมไขมันต่ำ อาหารผงละลายน้ำของผู้ใหญ่ ฯลฯ เสริมเข้าไป มีส่วนช่วยให้ได้กำลังงานมากกว่าการกินแต่อาหารในรูปของแข็งหรือของเหลว เพียงรูปแบบเดียว
...
 
(3). กินโปรตีน (ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน โปรตีนเกษตร เต้าหู้) ให้พอ
ควร กินเนื้อสัตว์สุก 4-6 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ ถั่วเมล็ดแห้ง (เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ฯลฯ) วันละ 1-2 กำมือ ถ้าไม่กินเนื้อ... ควรกินโปรตีนเกษตร ไข่ เต้าหู้เสริม
...
ควรกินปลาบ่อยขึ้นเป็นครั้งละ 1 ขีด หรือ 2-3 ช้อนโต๊ะ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์
ก่อน นำไข่ (รวมทั้งผลไม้) ไปปรุงอาหาร... ควรหยดน้ำยาล้างจานหรือสบู่บนฟองน้ำล้างจาน แล้วถูด้านนอกไข่ให้ทั่ว ล้างออกด้วยน้ำ แล้วล้างมือด้วยสบู่ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อโรคท้องเสีย
...
 
(4). กินผักผลไม้ให้พอ
กินผักอย่างน้อย 1-2 ทัพพีต่อมื้อ สุกครึ่งหนึ่ง สดครึ่งหนึ่งกำลังดี (ถ้ากินผักดิบหรือผักสดมากเกินอาจทำให้ท้องอืดได้ง่าย)
...
กิน ผลไม้มื้อละ 1 กำมือ วันละ 3 ครั้ง และควรกินผักผลไม้ตามสีรุ้ง (ม่วง-คราม-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง-แสด-แดง) ให้ได้อย่างน้อยวันละ 5 สี
ผักผลไม้เขตร้อนสี "ม่วง-คราม-น้ำเงิน" หายาก เรียนเสนอให้กินหอมแดง (มีสีม่วง-คราม) บ่อยสักหน่อย
...

(5). ลดหวาน-ลดเค็ม
อาหาร "หวานๆ เค็มๆ" ส่วนใหญ่เป็นอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารซื้อมา จึงควรหัดทำกับข้าวง่ายๆ เองอย่างน้อยวันละ 1 มื้อ (ถ้าเป็นไปได้)
หัดชิมอาหารก่อนปรุง... ถ้ารสชาดพอดีแล้วก็ไม่ควรเติมน้ำปลา ซอส หรือน้ำตาลไปอีก
...
 
(6). ระวังท้องเสีย
ควรระวังเชื้อโรคท้องเสียที่ติดมากับอาหาร โดยเฉพาะไข่และผลไม้... ควรฟอกน้ำยาล้างจานหรือสบู่ก่อนนำไปปรุงอาหาร
...
ควร ระวังเชือโรคไข้หวัดลำไส้อักเสบ โดยการไม่เข้าใกล้คนที่ไอ จาม หรือเป็นหวัด ไม่เข้าไปในที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก โดยเฉพาะห้องแอร์ที่มีคนอยู่กันมากๆ โดยไม่จำเป็น ล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร ก่อนดื่มน้ำ ก่อนเข้าบ้าน และหลังออกจากห้องน้ำ
...

(7). งดหรือลดแอลกอฮอล์
เหล้า เบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพิ่มเสี่ยง (โอกาสเป็น) มะเร็ง และอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจนเป็นลม หมดสติ หรือช็อคได้ โดยเฉพาะในคนที่เป็นเบาหวาน
...

(8). ดื่มน้ำให้มากพอ
ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ประมาณ 1-2 ลิตรต่อวัน ดื่มเพิ่มถ้ารู้สึกกระหายน้ำ หรือตามคำแนะนำของหมอที่ดูแลท่าน
...

(9). วิตามินรวม
การกินวิตามินรวม หรือวิตามิน B รวมเสริมน่าจะดี
ถ้าท่านกินยาอื่นๆ อาหารเสริมอื่นๆ วิตามินหรือเกลือแร่อื่นๆ ในขนาดสูง ควรแจ้งให้หมอที่ดูแลท่านทราบ เพื่อป้องกันภาวะ "ยาตีกัน"
...

(10). ทำใจ
เข้มแข็งไว และทำใจให้ได้... โรคบางโรค เช่น การติดเชื้อไวรัส HIV (ไวรัสเอดส์) ฯลฯ ถึงแม้จะไม่หายขาด แต่ก็มีโอกาสอายุยืนยาวได้มาก
...
ทุก วันนี้การวิจัย ค้นคว้า และพัฒนายาหรือการรักษาโรคก้าวไปไกล และก้าวไปเร็วมากจนมีคำกล่าวว่า ถ้าอายุยืนขึ้นได้อีก 5-10 ปี โรคหลายๆ โรคที่ทุกวันนี้ถือกันว่าร้ายแรงก็อาจจะไม่ร้ายแรง (อีกต่อไป...)
ฝรั่ง มีคำกล่าวว่า คนที่ไม่สบายนานๆ ควรหัดทำใจแบบ... 'To live with it, not for it.' หรือ "อยู่กับมัน แต่ไม่ใช่อยู่เพื่อมัน (โรค)"
...

Offline Mitsu Rc-c.n

  • Group N Racer
  • **
  • Posts: 72
  • กำลังหัดแข่ง
    • เว็บผมทำเอง สมัยยังเด็กๆ
ขอบคุณครับ  :yociexp19:
ความรู้มากมายต้อง          http://www.racing-club.net          Only