Author Topic: Super2000 Thialand (อีกรอบ)  (Read 2109 times)

Offline Mokan

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 771
  • Winning isn't everything, it's the ONLY thing!!!
Super2000 Thialand (อีกรอบ)
« on: June 02, 2006, 10:46:34 am »
Super2000.th
ข้อมูลจำเพาะสำหรับรถแข่งประเภท TOURING CAR
เพื่อชิงตำแหน่งนักแข่งผู้ชนะเลิศแห่งประเทศไทย 2549

ลักษณะจำเพาะ (RACE-CAR IDENTITY)
รถแข่งเพื่อการแข่งชิงตำแหน่งชนะเลิศแห่งประเทศไทยรุ่น Super2000.th มีลักษณะสังเขปดังนี้
“รถเก๋ง 4 ที่นั่งขนาดย่อม......วางเครื่องยนต์ขนาด 2 ลิตรใต้ฝากระโปรงหน้า......ใช้ปีกหลังตามกติกา”
รถขับล้อหน้า(FWD) ต้องมีน้ำหนักรวมไม่ต่ำกว่า 1100 กก.ตกบนเพลาหลังไม่เกิน 45% (รวมน้ำหนักตัวนักแข่ง)
รถขับล้อหลัง(RWD) ต้องมีน้ำหนักรวมไม่ต่ำกว่า 1150 กก.ตกบนเพลาหลังไม่เกิน 50% (รวมน้ำหนักตัวนักแข่ง)
รถขับ 4ล้อ    (AWD) ต้องมีน้ำหนักรวมไม่ต่ำกว่า 1200 กก.ตกบนเพลาหลังไม่เกิน 45% (รวมน้ำหนักตัวนักแข่ง)

ข้อกำหนดขนาดยางและล้อ
1. ต้องใช้ยางประเภท เรเดียล สมรรถนะสูง สำหรับใช้งานบนถนนสาธารณะ
   1.1. มีจำหน่ายแก่สาธารณะชนทั่วไปโดยไม่ต้องสั่งซื้อล่วงหน้า (advance special-order)
   1.2. กำหนดราคาจำหน่ายปลีกในประเทศไทยไม่เกินวงละ 5000 บาท (ไม่รวม VAT)
2. ขนาด 235/40R17 (ตามที่หล่อถาวรบนแก้มยาง)
3. ล้อและยางต้องมีน้ำหนักรวมกันชุดละไม่ต่ำกว่า 20 กก. (ก่อนการแข่ง)
4. ต้องใช้ล้อชนิดที่ยึดเข้ากับดุมล้อ ด้วยน๊อตหรือสกรู 4 ตัวหรือ 5 ตัวเท่านั้น
5. ร่องว่าง (Groove) บนหน้ายางต้องไม่ต่ำกว่า 20% ของหน้าสัมผัสรวม (foot-print)(ก่อนการแข่ง)
   5.1. ไม่อนุญาตให้แกะดอกเพิ่มเติม (Hand-cut) จากลายดอกที่ออกจากแม่พิมพ์ของสายการผลิต
   5.2. อนุญาตให้ปาด (Shave) ดอกยางจนเหลือความลึกของร่องว่างไม่ต่ำกว่า 4 ม.ม. (ก่อนการแข่ง)

ข้อกำหนดลักษณะโครงสร้างและตัวถัง
1.ความยาวช่วงล้อ………..…………………………2400-2800 ม.ม. (ตรงตามรุ่นของตัวถังปกติ)
2.ความยาวทั้งสิ้นไม่เกินกว่า...……….……………..4800 ม.ม. (นับรวมชิ้นส่วนทางอากาศพลศาสตร์ด้วย)
3.ความกว้างทั้งสิ้นไม่เกินกว่า………………………1800 ม.ม. (นับรวมการดัดแปลงขอบบนของซุ้มล้อด้วย)
4.ความสูงทั้งสิ้นของหลังคา (roof-peak) ไม่ต่ำกว่า 1250 ม.ม. (ติดตั้งปีกหลังไม่สูงกว่าจุดสูงสุดของหลังคา)
5.ช่องว่างใต้ท้อง(ground-clearance)…… ไม่ต่ำกว่า 80 ม.ม.
6.โครงท่อเหล็กเสริมโครงสร้าง(roll-cage) ต้องสร้างขึ้นจากท่อเหล็กเหนียวขนาดขั้นต่ำ 1.5”-odx0.083”-wall
7.นักแข่งที่ประสงค์จะสะสมคะแนนเพื่อชิงตำแหน่งผู้ชนะเลิศแห่งประเทศไทย
   ต้องขับรถแข่งที่ดัดแปลงจากตัวถังระหว่างรุ่นปี 1990-2006
   7.1.นักแข่งที่ไม่ประสงค์จะสะสมคะแนนฯ สามารถใช้รถแข่งที่ดัดแปลงจากตัวถังก่อนรุ่นปี 1990 ได้
8.ผนังล้อมห้องเครื่อง ฝั่งซ้าย ฝั่งขวา และ แผงกั้นห้องโดยสาร ต้องรักษาไว้ในสภาพเดิม
   8.1.อนุญาตให้ขึ้นรูปฝากระโปรงห้องเครื่องเลียนแบบเหมือนด้วยวัสดุน้ำหนักเบา
9.พื้นโครงสร้างห้องโดยสาร ต้องรักษาไว้ในสภาพเดิม (ยกเว้นการเสริมความมั่นคงด้วยโครงท่อเหล็ก)
10.ในกรณีที่จำเป็น ให้ดัดแปลงบังโคลนออกทางด้านข้างเพื่อปิดคลุมอย่างน้อย 120 องศาช่วงบนของยาง
     ทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้ความกว้างทั้งสิ้นของตัวถัง ณ ส่วนหนึ่งส่วนใดเกินกว่าพิกัด 1800 ม.ม.
     10.1.อนุญาตให้ขึ้นรูปบังโคลนลักษณะดังกล่าวหรือเลียนแบบเหมือนด้วยวัสดุน้ำหนักเบา
     10.2.อนุญาตให้ออกแบบและขึ้นรูปกันชนหน้าและกันชนหลังด้วยวัสดุน้ำหนักเบา
11.ประตู บานพับ และกลอนขัด ต้องเป็นชิ้นส่วนเดิมประจำรุ่นตัวถังนั้นๆ และทำงานได้ตามปกติ
12.กระจกบังลม กระจกหลัง และกระจกข้าง ต้องเป็น laminated-glass หรือแผ่นใส polycarbonate
สมรรถนะสูง เช่น “Lexan” (mar-resistant grade) หรือเทียบเท่า
13.อนุญาตให้ออกแบบและจัดทำแผงหน้าปัทม์เพื่อความสะดวกต่อการติดตั้งมาตรวัดและสวิทช์ของรถแข่ง
14.ให้ติดตั้งเก้าอี้เฉพาะสำหรับนักแข่งเพียงที่นั่งเดียว
     14.1.ลักษณะจำเพาะและวิธีติดตั้งเก้าอี้รถแข่ง ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ FIA
     14.1.ลักษณะจำเพาะและวิธีติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ FIA
15.ใต้ท้องรถตลอดระยะความยาวช่วงล้อ (Wheelbase) ต้องปล่อยให้อยู่ในสภาพเปลือย ไม่อนุญาตให้ใช้แผ่น
      หรือแผงวัสดุ ปิด บัง ครอบ หรือ คลุม ชิ้นส่วนใด ยกเว้นฉนวนกันความร้อนหุ้มห่อท่อไอเสียเท่านั้น
16.ให้รถแข่งทุกคันติดตั้งปีกหลังที่ออกแบบ จัดทำ และส่งมอบโดย ร.ย.ส.ท. เท่านั้น

รายชื่อตราสินค้าและรุ่นของตัวถังที่ใช้ดัดแปลงเป็นรถแข่งได้
Honda                 Civic/Accord/Prelude/Integra…………………….…..FWD
Toyota                 Corolla/Celica/Corona/Camry/Altezza……….….…..FWD/RWD
Nissan                 Sunny/Pulsar/Primera/Silvia/Cefiro/Skyline..….…….FWD/RWD/AWD
Mitsubishi            Lancer/Cedia/Evolution/Galant/FTO………………...FWD/AWD
Hyundai               Elantra/Tiburon/Sonata/Scoupe………..…….………FWD
Mazda                 Mazda3/323/Mazda6/626/Astina/Avantis.…………..FWD
Ford                     Focus/Escort/Mondeo/Laser/Telstar………………...FWD/AWD
VW                       Beetle/Golf/Vento/Corrado/Passat…………………..FWD/AWD
Subaru                 Impreza,Legacy……………………………………….FWD/AWD
Alfa Romeo          146/147/155/156………………………………………FWD
Audi                     A3/A4……………………………………………………FWD/AWD
Chevrolet             Optra……………………………………………………FWD
Opel                Vectra……………………………………………FWD
Volvo               S40……………………………………………….FWD
Proton                  Wira……………………………………………………..FWD
BMW                    3-Series…………..……………………………….……RWD
Mercedes Benz   C-Class……………..…………………………………..RWD
ยี่ห้ออื่น                 รุ่นอื่น ที่ระบุอยู่ในบัญชีรายชื่อของ FIA Super2000 Homologation 2006
ยี่ห้ออื่น                 รุ่นอื่น ที่ผู้แข่งร้องขอ และได้รับอนุมัติจากคณะก.ก.กีฬายานยนต์ ร.ย.ส.ท.
In racing, you either lead or follow or GETTA HELL OUT OF THE WAY!!!!

Offline Mokan

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 771
  • Winning isn't everything, it's the ONLY thing!!!
Re:Super2000 Thialand (อีกรอบ)
« Reply #1 on: June 02, 2006, 10:47:40 am »
ข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องยนต์
1.อนุญาตให้ใช้เครื่องยนต์ 4สูบ หรือ 5สูบ หรือ 6สูบ ระบบการทำงาน 4จังหวะ จุดสันดาปด้วยหัวเทียน
2.ขนาดความจุของเครื่องยนต์ต้องไม่เกินกว่า 2000ซีซี (ตรวจวัด ณ เวลาใดก็ได้ระหว่างช่วงรายการแข่ง)
3.อนุญาตให้วางเครื่องยนต์และเกียร์ข้ามรุ่น (Across model) แต่ภายในยี่ห้อเดียวกัน (Same brand) ได้
4.เครื่องยนต์และเกียร์ต้องวางอยู่ในตำแหน่งหน้าผู้ขับ (Front-engine)
5.ไม่อนุญาตให้ใช้ระบบอัดไอดีใดๆทั้งสิ้น
   5.1.ต้องมีลิ้นควบคุมปริมาณไอดีที่ทำงานได้จริง (Functional)
   5.2.อนุญาตให้ออกแบบและจัดทำท่อไอดีหรือท่อร่วมไอดีได้โดยเสรี
6.อนุญาตให้ใช้ระบบเปิดปิดวาล์วแบบตายตัวหรือแบบแปรผัน
   (แต่ถ้าเป็นแบบแปรผัน จะต้องใช้กลไกแปรผันของเดิมทั้งชุด)
    6.1.อนุญาตให้ใช้เพลาลูกเบี้ยวใดก็ตามที่สามารถติดตั้งแทนของเดิมได้
    6.2.อนุญาตให้ใช้วาล์วที่ทำจากเหล็กขนาดใดก็ได้ที่ติดตั้งแทนของเดิมได้
    6.3.ไม่อนุญาตให้ใช้วาล์วที่ทำจากไทเทเนียม (Titanium) ยกเว้นเสียแต่ว่าเป็นชิ้นส่วนปกติประจำเครื่องยนต์  
          นั้น ในกรณีเช่นนี้ ผู้แข่งเลือกได้ว่าจะใช้วาล์วของแท้ หรือจะเปลี่ยนเป็นวาล์วที่ทำจากเหล็กขนาดอื่น
    6.4.อนุญาตให้ใช้สปริงวาล์วที่ทำจากเหล็กเท่านั้น แต่ไม่จำกัดจำนวนขดหรืออัตรากดของสปริง(Spring-rate)
    6.5.อนุญาตให้ใช้ถ้วยสปริง (Retainer) ที่ทำจากไทเทเนียมหรืออลูมิเนียมได้      
7.อนุญาตให้ปรับปรุงแก้ไขก้านสูบของแท้หรือเปลี่ยนเป็นก้านสูบพิเศษอื่นใดที่ทำจากเหล็กได้โดยเสรี
    7.1.ไม่อนุญาตให้ใช้ก้านสูบที่ทำจากไทเทเนียม ยกเว้นเสียแต่ว่าเป็นชิ้นส่วนปกติประจำเครื่องยนต์นั้น  
          ในกรณีเช่นนี้ ผู้แข่งเลือกได้ว่าจะใช้ก้านสูบของแท้ หรือจะเปลี่ยนเป็นก้านสูบพิเศษที่ทำจากเหล็ก
8.อนุญาตให้ใช้ลูกสูบที่ทำจากอลูมิเนียมด้วยกรรมวิธีใด หรือมีรูปทรงใด ก็ได้
    8.1.สลักก้านสูบต้องทำจากเหล็กเท่านั้น
9.อนุญาตให้ปรับปรุงแก้ไขระบบหล่อลื่นแบบ “อ่างแช่”(Wet-sump) ได้โดยเสรี
    9.1.ไม่อนุญาตให้ใช้ระบบหล่อลื่นแบบ “อ่างแห้ง”(Dry-sump) ยกเว้นเสียแต่ว่าเป็นระบบปกติประจำ
          เครื่องยนต์นั้น ในกรณีเช่นนี้ ผู้แข่งต้องใช้ระบบหล่อลื่นของแท้ครบทั้งชุด
10.อนุญาตให้ใช้ปะเก็นกันรั่วประกอบเครื่องยนต์ที่ออกแบบอย่างใดหรือทำจากวัสดุใดก็ได้
     10.1.ปะเก็นฝาสูบและ/หรือแผ่นเสริม ต้องมีความหนารวมกันไม่เกิน 2.00 ม.ม.
11.อนุญาตให้เชื่อมเสื้อสูบเพื่อซ่อมแซมได้ แต่ไม่อนุญาตให้เชื่อมเสื้อสูบเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปพรรณสัณฐาน
     11.1.อนุญาตให้ปรับปรุงแก้ไขเสื้อสูบในลักษณะอื่นได้โดยเสรี
12.อนุญาตให้เชื่อมฝาสูบเพื่อซ่อมแซมได้ แต่ไม่อนุญาตให้เชื่อมฝาสูบเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปพรรณสัณฐาน
     12.1.อนุญาตให้ปรับปรุงแก้ไขฝาสูบในลักษณะอื่นได้โดยเสรี
13.อนุญาตให้ปรับปรุงแก้ไขเพลาข้อเหวี่ยงของแท้หรือเปลี่ยนเป็นเพลาข้อเหวี่ยงพิเศษอื่นใดที่ทำจากเหล็ก
     ได้โดยเสรี
14.อนุญาตให้ใช้ระบบควบคุมส่วนผสมไอดีได้โดยเสรี
     14.1.อนุญาตให้ใช้ “หัวฉีด” ขนาดใดก็ได้
     14.2.อนุญาตให้ใช้สมองกล (Engine Control Unit) ใดๆก็ได้
     14.3.อนุญาตให้ใช้คาร์บูเรเตอร์ (Carburetor) ขนาดใดก็ได้
15.อนุญาตให้ใช้ระบบควบคุมการจุดหัวเทียนได้โดยเสรี
     15.1.อนุญาตให้ใช้หัวเทียนใดๆก็ได้ที่ใช้เกลียวหัวเทียนเดิม
16.อนุญาตให้ใช้ระบบท่อระบายไอเสียได้โดยเสรี
     16.1.อนุญาตให้ปลายท่อไอเสียออกท้ายรถ หรือออกข้างรถหลังตำแหน่งผู้ขับก็ได้
             แต่ต้องไม่ยื่นล้ำเงาในแนวดิ่งของตังถัง
     16.2.อนุญาตให้ใช้เฉพาะท่อเหล็ก (Mild-steel หรือ SS304) ทำท่อไอเสียทั้งระบบ
     16.3.ไม่อนุญาตให้ใช้ท่อไทเทเนียมทำส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบท่อระบายไอเสีย
     16.4.ไม่กำหนดระดับความดังของเสียงเมื่อจัดแข่งในสนามแข่งถาวร
     16.5.ผู้จัดแข่งอาจต้องกำหนดระดับความดังของเสียงไว้ในกติกาเพิ่มเติม (Supplementary Regulations)
             เมื่อจัดแข่งที่สนามแข่งชั่วคราว

ข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบส่งกำลัง
1.อนุญาตให้ใช้เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ (“Manual 5-speed”) เท่านั้น
    1.1.อาจเป็นเสื้อเกียร์ 5 จังหวะ ประจำเครื่องยนต์ที่ใช้แข่ง  
    1.2.อาจเป็นเสื้อเกียร์ 6 จังหวะ ประจำเครื่องยนต์ที่ใช้แข่ง แต่ลดจำนวนคู่เฟืองเหลือเพียง 5 จังหวะ
    1.3.อาจเป็นเสื้อเกียร์ 5 จังหวะ จากเครื่องยนต์ในรถยี่ห้อเดียวกัน
    1.4.อนุญาตให้ดัดแปลงหรือจัดทำ “หัวหมูเกียร์” (Bell-housing) ใหม่ ตามความจำเป็น
    1.4.อนุญาตให้เลือกอัตราทดเกียร์ทั้ง 5 จังหวะเดินหน้า(และ 1 จังหวะถอยหลัง) ได้โดยเสรี
    1.5.อนุญาตให้เลือกอัตราทดเฟืองท้าย (Final-drive ratio) ที่เหมาะสมกับสนามแข่ง ได้โดยเสรี
    1.6.ต้องคงไว้ซึ่งกลไก Synchronizer (ห้ามใช้ระบบ ”Dog”-engagement)
    1.7.”ก้ามปู”(Shift-fork) “ปลอกเลื่อน”(Slider) และ “แกนก้ามปู” (Shift-rail) ต้องเป็นชิ้นส่วนของแท้
           ประจำเสื้อเกียร์นั้นๆ
    1.8.นักแข่งต้องใช้มือโยกคันเกียร์ไปตาม “ช่องเกียร์” H-pattern (ห้ามใช้คันเกียร์ ”Sequential”)
2.นักแข่งต้องใช้เท้าซ้ายเหยียบแป้นคลัทช์เพื่อตัดแรงกดบนแผ่นคลัทช์ สำหรับออกรถหรือเปลี่ยนเกียร์
3.แผ่นคลัทช์ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 184 ม.ม. หรือ 7.25 นิ้ว
4.ฟลายวีลต้องทำจากวัสดุตระกูลเหล็ก และมีน้ำหนักไม่เบากว่า 5 กก. (นับรวมเฟืองสตาร์ทด้วย)
5.ไม่อนุญาตให้ใช้ระบบ Traction-control และ/หรือ Dynamic stability control
6.ไม่อนุญาตให้ใช้ระบบแบ่งสรรแรงบิดไปสู่เพลาขับแบบ”ล่วงหน้า” (“Active” torque-split)
   ไม่ว่าจะสั่งการโดยสมองกลหรือโดยนักแข่ง
7.เพลากลาง (Propeller-shaft) และเพลาข้าง (Drive-shaft) ต้องทำจากวัสดุตระกูลเหล็กเท่านั้น
8.ดุมล้อ (Hub) และเง่าลูกปืนดุมล้อ (Hub-carrier) ต้องเป็นชิ้นส่วนของแท้จากรถรุ่นใดรุ่นหนึ่ง
   (Any model) ที่ใช้ชื่อตราสินค้า (ยี่ห้อ) เดียวกัน  (Same brand)
   8.1.อนุญาตให้นำชิ้นส่วนที่ว่านี้ไปกัดกลึงแก้ไขได้ แต่ไม่อนุญาตให้เชื่อมพอกเพิ่มเติม
   8.2.ในกรณีที่ชิ้นส่วนที่ว่านี้เป็นกลไกที่ถอดแยกไม่ออกจากแขนบังคับระบบกันสะเทือนบางระบบเช่น
         Trailing-arm, Semi-trailing-arm, Twist-beam, Solid-axle หรือ Live-axle อนุญาตให้เชื่อมพอก
          เพิ่มเติมได้เฉพาะบนส่วนที่ไม่ใช่  Hub หรือ Hub-carrier เท่านั้น

ข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบห้ามล้อ
1.จานเบรกหน้าต้องทำจากเหล็กหล่อ
    ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน  330 ม.ม.หรือ 13 นิ้ว
    ความหนาไม่เกิน 32 ม.ม. หรือ 1.25 นิ้ว  
    จำนวนลูกสูบใน Caliper ไม่เกิน 4 สูบ
2.จานเบรกหลังต้องทำจากเหล็กหล่อ
    ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 305 ม.ม. หรือ 12 นิ้ว
    ความหนาไม่เกิน 22 ม.ม. หรือ .875 นิ้ว
    จำนวนลูกสูบใน Caliper ไม่เกิน 4 สูบ
3.ไม่อนุญาตให้ใช้ระบบใดที่เข้าข่าย “Anti-lock braking”
4.อนุญาตให้ใช้แต่อากาศในบรรยากาศเท่านั้นเพื่อระบายความร้อนของเบรก
5.ไม่อนุญาตให้ใช้ของเหลวหรือพ่นละอองของเหลวเพื่อระบายความร้อนของเบรก
In racing, you either lead or follow or GETTA HELL OUT OF THE WAY!!!!

Offline Mokan

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 771
  • Winning isn't everything, it's the ONLY thing!!!
Re:Super2000 Thialand (อีกรอบ)
« Reply #2 on: June 02, 2006, 10:48:11 am »
ข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบกันสะเทือน
1.อนุญาตให้ย้ายตำแหน่งจุดหมุนของแขนควบคุมระบบกันสะเทือนที่โครงสร้างตัวถังได้ในรัศมี 20 ม.ม.
   จากตำแหน่งเดิม
2.อนุญาตให้จัดทำแขนบังคับระบบกันสะเทือนแทนของเดิมได้ แต่ต้องทำงานในลักษณะเดียวกับของเดิม
3.อนุญาตให้ย้ายสปริงมาขดรอบกระบอก Shock-absorber (“coil-over” shock) แทนสปริงเดิมได้
4.อนุญาตให้เปลี่ยนขนาดและรูปทรงของเหล็กกันโคลง (Stabilizer-bar) จากเดิมได้
   4.1.ในกรณีที่ไม่เคยมีเหล็กกันโคลงมาก่อน อนุญาตให้ออกแบบติดตั้งได้ (แต่ต้องเป็นระบบกลไก)
   4.2.อนุญาตให้เปลี่ยนวัสดุและรูปทรงของชิ้นส่วนกลไกปลายเหล็กกันโคลงได้
5.ไม่อนุญาตให้ใช้ระบบกันสะเทือนที่ควบคุมด้วยสมองกล
6.ไม่อนุญาตให้ใช้ระบบกันสะเทือนที่นักแข่งปรับเองได้ในระหว่างขับแข่ง

ข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบสื่อสาร
1.อนุญาตให้สื่อสารสนทนาระหว่างนักแข่งกับ Pit ได้
2.ไม่อนุญาตให้สื่อสารข้อมูลระบบการทำงานระหว่างรถแข่งกับ Pit  (Telemetry)

ข้อกำหนดเกี่ยวกับเชื้อเพลิง
1.ต้องใช้เชื้อเพลิง Gasohol 95RON(E10) ที่ผู้จัดแข่งส่งมอบ
2.ถังเชื้อเพลิงแบบ Safety-tank ต้องมีความจุไม่เกิน  50 ลิตร
3.อนุญาตให้เติมเชื้อเพลิงก่อนกำหนดการแข่งได้ทุกครั้ง

ข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบดับเพลิง
1.ปริมาณของสารดับเพลิงประเภท AFFF ในรถแข่ง ต้องไม่น้อยกว่า 5 กก.
2.ต้องติดตั้งระบบสั่งการด้วยความร้อน (Heat-sensing activation)
3.ต้องเล็งหัวฉีดไปยัง ห้องเครื่องยนต์ ถังเชื้อเพลิง และเก้าอี้นักแข่ง

รูปแบบของการแข่ง (RACE FORMAT)
1.แต่ละ Event ประกอบด้วย Race-1 และ Race-2
2.แต่ละ Race ต้องมีความยาวระหว่าง 80-100 ก.ม.
3.Starting-grid ของ Race-1 กำหนดโดยผลจาก Qualifying-session
   (เวลาของรอบที่ดีที่สุดในช่วง 1 ชั่วโมง ที่รถแข่งใช้สนามแข่งร่วมกัน)

การแจกแจงคะแนนของตำแหน่งจากการแข่ง
ที่ 1.………….10 คะแนน
ที่ 2……………8 คะแนน
ที่ 3….………..6 คะแนน
ที่ 4……….…..5 คะแนน
ที่ 5….………..4 คะแนน
ที่ 6.…………..3 คะแนน
ที่ 7.…………..2 คะแนน
ที่ 8.…………..1 คะแนน

การสะสมคะแนนเพื่อชิงชนะเลิศประจำปี
สะสมคะแนนจากผลการแข่งที่ดีที่สุด 10 ครั้งตลอดการแข่งทั้งปี

มาตรการปรับความต่างของผลสำเร็จ (SUCCESS EQUALIZER)
1. สลับตำแหน่งปล่อยรถใน Race-2 ผันกลับจากตำแหน่งจบการแข่ง Race-1
2. ถ่วงน้ำหนักรถแข่งในวันแข่งตามตำแหน่งคะแนนสะสมล่าสุดของนักแข่ง
นักแข่งที่ทำคะแนนสะสมเป็นที่ 1 ต้องเพิ่มน้ำหนักรถอีก 50 กก.
นักแข่งที่ทำคะแนนสะสมเป็นที่ 2 ต้องเพิ่มน้ำหนักรถอีก 40 กก.
นักแข่งที่ทำคะแนนสะสมเป็นที่ 3 ต้องเพิ่มนำหนักรถอีก 30 กก.  
นักแข่งที่ทำคะแนนสะสมเป็นที่ 4 ต้องเพิ่มน้ำหนักรถอีก 20 กก.
นักแข่งที่ทำคะแนนสะสมเป็นที่ 5 ต้องเพิ่มน้ำหนักรถอีก 10 กก.
In racing, you either lead or follow or GETTA HELL OUT OF THE WAY!!!!

Offline Joe

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 732
  • How Far can You Fly with Broken Wing
Re:Super2000 Thialand (อีกรอบ)
« Reply #3 on: June 02, 2006, 12:14:00 pm »
ขอบคุณ คุณพี่ Mokan เดี๋ยวขอเซฟไปศึกษาซักแป๊ปครับ แล้วจะขอถามส่วนที่ไม่เข้าใจแล้วกันครับผม
หญิงที่อายุเกิน 25 ทำไมต้องกลายเป็นป้าแทบทุกคน