Author Topic: ทีวีตัวการทำให้เด็กบริโภคมากขึ้น  (Read 6434 times)

Offline O'Pern

  • fear is a mind killer
  • Administrator
  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 7411
  • don't let your fear stand in the way of your dream
    • racing club
นับจากการถือกำเนิดและออกอากาศของโทรทัศน์ในประเทศไทย รายการโทรทัศน์ได้มีพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งในด้านรูปแบบเทคนิคการผลิต ความหลากหลายของเนื้อหา จำนวนช่องออกอากาศ ฯลฯ แต่สิ่งที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยคือพื้นที่และ***ส่วนรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก

จากการสำรวจของโครงการส่งเสริมสื่อมวลชนเพื่อเด็ก (กสด.)มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.)พบว่านอกจากรายการโทรทัศน์แล้วสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ก็มีผลต่อเด็กสูงด้วยเช่นกันโดยเฉพาะในเรื่องทัศนคติที่มุ่งเน้นการบริโภค ผู้ผลิตจำนวนมากยังไม่คำนึงถึงการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่วัยของเด็ก

มพด. จึงร่วมมือกับเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านสื่อศึกษา มาอย่างต่อเนื่องจากทั่วประเทศ 17 จังหวัด จำนวน 1,349 ตัวอย่างศึกษาข้อมูลพื้นฐานเรื่องสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์และรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2547 และนี่เป็นความคิดเห็นที่ใครหลายคนก็ยากจะปฏิเสธ

สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสม
จากการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายต่อสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก พบว่า โฆษณาสินค้าเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ คว้าแชมป์โฆษณาไม่เหมาะสม วิธีการนำเสนอของโฆษณาทางโทรทัศน์ เน้นมอมเมา, ส่อนัยทางเพศ และโน้มน้าว ล่อลวง ให้ใช้สินค้าบ่อยๆ เด็กเกิดความต้องการบริโภคสินค้าที่ได้ชม และคล้อยตามความเชื่อที่ปลูกฝังผ่านสื่อโฆษณา เป็นผลกระทบที่อาจเกิดกับเด็กหลังการรับสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์

ผลกระทบทางพฤติกรรมและการแสดงออกของเด็กที่อาจเกิดขึ้นหลังการรับสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสม คือเด็กเกิดความต้องการบริโภคสินค้าเพื่อสนองตอบความเชื่อที่ปลูกฝังผ่านสื่อโฆษณาจนถึงหมกมุ่นและเลียนแบบพฤติกรรมทางเพศ และ/หรือ อยากทดลองทางเพศ

1. โฆษณาสินค้าเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ คว้าแชมป์โฆษณาไม่เหมาะสม จากการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย ต่อสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก พบว่า

อันดับ 1 โฆษณาสินค้าประเภทเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 32.7
อันดับ 2 โฆษณาสินค้าประเภทเครื่องอุปโภค ร้อยละ 11.7 ส่วน
อันดับ 3 คือโฆษณาสินค้าประเภทเครื่องสำอางและแป้งกับโฆษณาสินค้าระบบโทรศัพท์และเครื่องโทรศัพท์ ร้อยละ 9.7 เท่ากัน ส่วนโฆษณาสินค้าประเภทขนมคบเคี้ยว หมากฝรั่งและลูกอม ขนมหลอกเด็ก ได้ไปร้อยละ 6.2 ตามลำดับ

2. วิธีการหลอกล่อเด็กของโฆษณาทางโทรทัศน์ เน้นมอมเมาส่อนัยทางเพศ และโน้มน้าว ล่อลวง ให้ใช้สินค้าบ่อยๆ จากการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายต่อสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กพบว่าสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมมีวิธีการนำเสนอ ที่สำคัญๆ คือ

อันดับที่ 1 เน้นที่อบายมุข,มอมเมา,สิ่งมึนเมา,การพนัน,ตลอดจนเป็นสินค้าประเภทลูกอม-ขนมหวาน,น้ำอัดลม,เครื่องดื่มชูกำลัง,บุหรี่ ร้อยละ 33.3 ซึ่งสินค้าที่นิยมใช้วิธีการนี้ 3 อันดับแรก ได้แก่ สินค้าเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 71.9 , สินค้าขนมคบเคี้ยว หมากฝรั่งและลูกอม ร้อยละ 6 และสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางและแป้ง ร้อยละ 4.9

อันดับที่ 2 ส่อนัยทางเพศ, ลามกอนาจาร, แสดงออกทางกามารมณ์,เหยียดหยามเพศหญิง ฯลฯ ร้อยละ 28.1 ซึ่งสินค้า 3 อันดับแรกที่นิยมใช้วิธีการนี้ ได้แก่ สินค้าเครื่องอุปโภคร้อยละ 37.2 ในสินค้ากลุ่มนี้ระบุเฉพาะโฆษณาก๊อกน้ำซันวา สูงถึงร้อยละ 99.3 ,สินค้าเครื่องสำอางและแป้ง ร้อยละ 18.4 และสินค้าถุงยางอนามัย ร้อยละ 8.2

อันดับที่ 3 ใช้กลวิธีการชักจูง-โน้มน้าว-ล่อลวง-บิดเบือนด้วยการทำเป็นแบบอย่าง และ/หรือนำผู้เป็นแบบอย่าง(หรือสัญลักษณ์) มาเป็นผู้นำเสนอ และ/หรือใช้ผู้นำเสนอที่เหมาะสมกับสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคคล้อยตาม เช่น นำเสนอภาพการใช้สินค้าบ่อยๆ , ใช้สินค้าแล้วทันสมัย, ใช้แล้วได้ผล ไปจนถึงใช้แล้วแข็งแรง,เหาะได้ ฯลฯร้อยละ 24.1 ซึ่งสินค้า 3 อันดับแรกที่นิยมใช้วิธีการนี้ ได้แก่ สินค้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องโทรศัพท์ร้อยละ 33.5 , สินค้าเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 32 และสินค้าขนมคบเคี้ยว หมากฝรั่งและลูกอม ร้อยละ 9.2

3. เด็กเกิดความต้องการบริโภคสินค้าที่ได้ชม และคล้อยตามความเชื่อที่ปลูกฝังผ่านสื่อโฆษณา เป็นผลกระทบที่อาจเกิดกับเด็กจากความคิดเห็นที่สำรวจจากความคิดเห็นที่สำรวจด้านผลกระทบที่อาจเกิดกับเด็กจากการรับสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสม พบว่าสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์อาจก่อให้เกิดผลกระทบกับเด็ก ดังนี้

อันดับที่ 1 เด็กเกิดความต้องการบริโภคสินค้าที่ได้ชมและคล้อยตามความเชื่อที่ปลูกฝังผ่านสื่อโฆษณา เช่น ใช้สินค้าแล้วเก่งอย่างภราดร, คนกินเหล้าเป็นคนดีเพราะบริจาคโลหิต, ซื้อสินค้าเพราะอยากได้ของแถม ตลอดจนสามารถใช้สินค้าได้บ่อยๆ ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะสินค้าประเภทโทรศัพท์ ร้อยละ 25.9 ซึ่งกลุ่มสินค้า 3 อันดับแรกที่อาจทำให้เกิดผลกระทบนี้ ได้แก่สินค้าเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 43.5, สินค้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องโทรศัพท์ ร้อยละ 30.3 และสินค้าเครื่องดื่มชูกำลัง ร้อยละ 5.7

อันดับที่ 2 ทำให้เด็กคุ้นเคยกับเรื่องเพศ หรือมีอคติทางเพศ ฯลฯ ร้อยละ 24.7 ซึ่งกลุ่มสินค้า 3 อันดับแรกที่อาจทำให้เกิดผลกระทบนี้ ได้แก่สินค้าเครื่องอุปโภค ร้อยละ 45.6 ซึ่งในจำนวนนี้ระบุว่าเป็นโฆษณาก๊อกน้ำซันวา ถึงร้อยละ 90.8 , สินค้าเครื่องสำอางและแป้ง ร้อยละ 31.8และสินค้าถุงยางอนามัยร้อยละ 9

อันดับที่ 3 เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากอาหารขยะ,สารเสพติด,สารเคมี,ผงชูรส ฯลฯ ร้อยละ 23.7 ซึ่งกลุ่มสินค้า 3 อันดับแรกที่อาจทำให้เกิดผลกระทบนี้ ได้แก่สินค้าเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 55.6 , สินค้าขนมคบเคี้ยว หมากฝรั่งและลูกอม ร้อยละ 16.5 และสินค้าเครื่องสำอางและแป้ง ร้อยละ 7.8

4. เด็กเกิดความต้องการบริโภคสินค้าเพื่อสนองตอบความเชื่อที่ปลูกฝังผ่านสื่อโฆษณา จนถึงหมกมุ่นและเลียนแบบพฤติกรรมทางเพศ และ/หรือ อยากทดลองทางเพศ เป็นผลกระทบต้นๆ หลังชมสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก ความคิดเห็นต่อผลกระทบทางพฤติกรรมและการแสดงออกของเด็กที่อาจเกิดขึ้นหลังการรับสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นว่าอาจจะเกิดผลกระทบกับเด็กที่สำคัญๆดังต่อไปนี้

อันดับที่ 1 เกิดความต้องการบริโภคสินค้าเพื่อสนองตอบความเชื่อที่ปลูกฝังผ่านสื่อโฆษณา ร้อยละ 27.6 ซึ่งกลุ่มสินค้า 3 อันดับแรกที่อาจทำให้เกิดผลกระทบนี้ ได้แก่ สินค้าเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 47.3 , สินค้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องโทรศัพท์ ร้อยละ 29 และสินค้าขนมคบเคี้ยว หมากฝรั่งและลูกอม ร้อยละ 5.9 อันดับที่ 2 หมกมุ่นและเลียนแบบพฤติกรรมทางเพศ และ/หรือ อยากทดลองทางเพศร้อยละ 8.3

ซึ่งกลุ่มสินค้า 3 อันดับแรกที่อาจทำให้เกิดผลกระทบนี้ ได้แก่สินค้าเครื่องอุปโภค ร้อยละ 33 ในกลุ่มนี้ระบุเฉพาะโฆษณาก๊อกน้ำซันวา 100 % , สินค้าถุงยางอนามัย ร้อยละ 23.2 และสินค้าเครื่องสำอางและแป้ง ร้อยละ 22.3 รายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก

จากการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย ต่อรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก พบว่ารายการจำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวสยองขวัญ เช่น ชั่วโมงพิศวง, เรื่องจริงผ่านจอ, มิติพิศวง ฯลฯ คว้าแชมป์รายการทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก โดยมีละครน้ำเน่าหลังข่าว แนวชิงรักหักสวาทตามมาเป็นที่สองรายการทีวีทุกวันนี้ขายเนื้อหารุนแรง / สยองขวัญภาพการแสดงความรุนแรงทางอารมณ์ตลอดจนเรื่องราวไสยศาสตร์และเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นเรื่องหลัก รายการทีวีปัจจุบันปลูกฝังและทำให้เด็กซึมซับ เคยชินความรุนแรง, เร้าความกลัวอย่างไร้เหตุผล, งมงายไสยศาสตร์, สร้างจินตนาการผิดๆให้เด็ก ฯลฯ เป็นด้านหลัก

1. รายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่มีส่วนทำให้เด็กไทยทุกวันนี้ก้าวร้าวนิยมและตัดสินปัญหาด้วยความรุนแรง มองความรุนแรงเป็นเรื่องปรกติ,กลัวผี ความมืดและการอยู่คนเดียว รายการจำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวสยองขวัญ เช่น ชั่วโมงพิศวง, เรื่องจริงผ่านจอ, มิติพิศวง ฯลฯ คว้าแชมป์รายการทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก โดยมีละครน้ำเน่า หลังข่าว แนวชิงรักหักสวาทตามมาเป็นที่สอง

จากการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายพบว่า รายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ได้แก่ รายการจำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวสยองขวัญ ร้อยละ 20.8, รายการละครหลังข่าวและภาพยนตร์ ร้อยละ 15.3 โดยมีรายการ Talk show – วาไรตี้ ครองอันดับ 3 ร้อยละ 10

2. รายการทีวีทุกวันนี้ขายเนื้อหารุนแรง / สยองขวัญ ภาพการแสดงความรุนแรงทางอารมณ์ ตลอดจนเรื่องราวไสยศาสตร์และเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นเรื่องหลัก

จากการสำรวจความคิดเห็นต่อวิธีการนำเสนอของรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก พบว่า รายการโทรทัศน์มีวิธีการนำเสนอหรือจุดขาย ที่สำคัญๆ ได้แก่

อันดับที่ 1 เนื้อหารุนแรง / สยองขวัญ ภาพการแสดงความรุนแรงทางอารมณ์ ตลอดจนเรื่องราวไสยศาสตร์และเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ร้อยละ 34.1โดยรายการโทรทัศน์ที่นิยมใช้วิธีการนี้ ได้แก่รายการจำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวสยองขวัญ เช่นรายการเกมพิศวง,ชมรมขนหัวลุก,ชั่วโมงพิศวง,แดนสนธยา,มิติพิศวง,เรื่องจริงผ่านจอ เป็นต้น ร้อยละ 56.1, รายการละครและภาพยนตร์ ร้อยละ 13.7 และรายการกีฬาร้อยละ 7.4

อันดับที่ 2 เป็นรายการที่มีพฤติกรรมไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม ไม่มีมารยาทเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี, ตลก-หยาบคาย, นินทาดารา,ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ฯลฯ ร้อยละ 18.9 ได้แก่ รายการ Talk show – วาไรตี้ เช่น Z ทีวี,ชูรัก-ชูรส,ตีสิบ,ถึงลูกถึงคน,นั่งยางโชว์,เปรี้ยว หวาน มันเผา,แฟนซีโดน,ยุทธการบันเทิง,รักยิ้ม,สภาโจ๊ก,สาระแนจัง,โอโน่โชว์ ฯลฯ ร้อยละ 25.1, รายการละครและภาพยนตร์ ร้อยละ 24.7 และรายการตลก/จำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวตลกขบขัน ร้อยละ 17.6

อันดับที่ 3 เน้นการนำเสนอเรื่องราวทางเพศ, ลามกอนาจาร,> พิธีกรแสดงออกทางเพศด้วยคำพูด และการกระทำ, พิธีกรเบี่ยงเบนทางเพศ, พิธีกรแต่งตัวไม่เหมาะสม(โป๊) ตลอดจนการนำเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่ไม่จริงมาเผยแพร่ ฯลฯ ร้อยละ 13 โดยรายการโทรทัศน์ที่นิยมใช้วิธีการนี้ ได้แก่ รายการละครและภาพยนตร์ ร้อยละ 40.3, รายการ Talk show – วาไรตี้ ร้อยละ 21.6

3. รายการทีวีปัจจุบันปลูกฝังและทำให้เด็กซึมซับ เคยชินความรุนแรง, เร้าความกลัวอย่างไร้เหตุผล, งมงายไสยศาสตร์, สร้างจินตนาการผิดๆให้เด็ก ฯลฯ เป็นด้านหลัก

จากการแสดงความคิดเห็นต่อผลกระทบที่อาจเกิดกับเด็กจากการรับชมรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กพบว่า รายการทีวีในปัจจุบันอาจส่งผลกระทบให้เด็ก ดังนี้

อันดับที่ 1 ปลูกฝังและทำให้เด็กซึมซับ เคยชินความรุนแรง, เร้าความกลัวอย่างไร้เหตุผล, งมงายไสยศาสตร์, สร้างจินตนาการผิดๆให้เด็ก ฯลฯ ร้อยละ 33.2 รายการโทรทัศน์ 3 อันดับแรกที่อาจทำให้เกิดผลนี้ ได้แก่ รายการจำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวสยองขวัญ ร้อยละ 57 , รายการละครและภาพยนตร์ ร้อยละ 13.8 และรายการกีฬา ร้อยละ 7.4

อันดับที่ 2 ซึมซับพฤติกรรมไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม ร้อยละ 13.2 ประกอบด้วย รายการตลก/จำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวตลกขบขัน ร้อยละ 24.1 , รายการละครและภาพยนตร์ ร้อยละ 21.3 และรายการ Talk show – วาไรตี้ ร้อยละ 16.3

อันดับที่ 3 เสียการเรียน เพราะต้องอยู่ดูดึก, ไร้สาระ, มีมากและบ่อยเกินไปร้อยละ 12.8 ได้แก่ รายการตลก/จำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวตลกขบขัน ร้อยละ 21 , รายการภาพยนตร์การ์ตูน ร้อยละ 16.2 และรายการ Talk show – วาไรตี้ ร้อยละ 14.5

4. รายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่มีส่วนทำให้เด็กไทยทุกวันนี้ก้าวร้าวนิยมและตัดสินปัญหาด้วยความรุนแรง มองความรุนแรงเป็นเรื่องปรกติ,กลัวผี ความมืดและการอยู่คนเดียว ความคิดเห็นต่อผลกระทบทางพฤติกรรมและการแสดงออกของเด็กที่อาจเกิดขึ้นจากการรับชมรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นว่าอาจจะเกิดผลกระทบกับเด็กที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้

อันดับที่ 1 ก้าวร้าว นิยมและตัดสินปัญหาด้วยความรุนแรงมองความรุนแรงเป็นเรื่องปรกติ,กลัวผี ความมืด และการอยู่คนเดียว ร้อยละ 22.2รายการโทรทัศน์ 3 อันดับแรกที่อาจทำให้เกิดผลนี้ ได้แก่รายการจำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวสยองขวัญ ร้อยละ 55.8,รายการละครและภาพยนตร์ ร้อยละ 12.7 และรายการกีฬา ร้อยละ 9.3

อันดับที่ 2 เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม ร้อยละ 10รายการโทรทัศน์ 3 อันดับแรกที่อาจทำให้เกิดผลนี้ ได้แก่รายการละครและภาพยนตร์ ร้อยละ 26.7, รายการตลก/จำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวตลกขบขัน ร้อยละ 18.5 และรายการ Talk show – วาไรตี้ ร้อยละ12.6

บทสรุป
ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างแม้จะไม่มากนัก แต่ในฐานะเครือข่ายผู้บริโภคที่เฝ้าจับตามองสื่อโฆษณาและรายการโทรทัศน์ที่ปัจจุบันมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการโน้มน้าวการบริโภคหรือปลูกฝังทัศนคติ ความเชื่อ ตลอดจนวัฒนธรรมทางสังคมรวมถึงเป็นดัชนีชี้วัดสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในยุคนั้นๆ จึงถือเป็นเสียงสะท้อนที่ผู้ผลิตไม่ควรมองข้าม

เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการนำเสนอสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์และรายการโทรทัศน์ล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงเป็นโครงสร้างอย่างแน่นหนาภายใต้ระบอบทุนนิยม ที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ค่าเช่าเวลา ช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมความนิยมในรายการหรือสถานีโทรทัศน์ เป็นตัวกำหนดหลัก ขณะที่ผู้เล่นสำคัญๆ ของแต่ละช่องก็มีผู้กุมเวลาอันเป็นเงื่อนไขสำคัญในฐานะ “ผู้ผลิต” ที่ได้รับเวลาสัมปทานทั้งเป็นและไม่เป็นทางการ ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องหารายได้มาให้สถานี รายการ ฯลฯ อยู่ได้เป็นสำคัญ ซึ่งหากเรามองโทรทัศน์ในแง่มุมทางเศรษฐกิจเป็นด้านหลักโอกาสที่จะมองเห็นการพัฒนารูปแบบรายการ เนื้อหา และวิธีนำเสนอที่เป็นธรรมและสร้างสรรค์สำหรับผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็ก คงเป็นไปได้ยากยิ่ง

แต่หากมองสื่อในฐานะผู้บริโภคแล้ว เราจะพบว่าโอกาสในการก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมีความเป็นไปได้มากมายทั้งในฐานะปัจเจกของแต่ละครอบครัวที่จะต้องเฝ้าระวัง แสดงทัศนคติ สะท้อนความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์สื่อ เพื่อปกป้องเด็กในครอบครัวของท่านเองให้พ้นจากผลกระทบด้านลบของสื่อโทรทัศน์ และในฐานะของผู้บริโภคในสังคมรวมหมู่การรวมพลังสะท้อนความคิดเห็นสู่ผู้ผลิต ผู้สนับสนุนรายการ เจ้าของสินค้า สถานีโทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งหน่วยงานราชการหรือองค์กรอิสระที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานี อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนที่สร้างสรรค์และเหมาะสมสำหรับเด็กที่สำคัญเราในฐานะผู้บริโภคไม่ควรจะร้องขอแต่ต้องเป็นผู้กำหนด และเข้าไปส่วนร่วมเล่นในฐานะผู้เล่นคนหนึ่ง เพราะแท้ที่จริงแล้วผู้บริโภคก็คือผู้สนับสนุนสื่อโทรทัศน์ให้สามารถอยู่รอดดำเนินกิจการต่อไปได้นั่นเองทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขของเด็กไทยทุกคน

ข้อมูลจาก โครงการส่งเสริมสื่อมวลชนเพื่อเด็ก (กสด.)มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด)
i drive / i race / i test / I drift
I row / I run / I fun / I ride

อืม... น่าคิด 8)

ผมไปอ่านหนังสือเจอมาเค้าบอกว่า การเปิดทีวีให้เด็กดู (ในเด็กเล็ก) จะทำให้เด็กพัฒนาการ(พูด) ช้า

เค้าบอกว่า ควรจะพูดคุยกับเด็กบ่อยๆ  แม้ว่าเค้ายังเล็กอยู่ หรือยังพูดไม่ได้ก็เหอะ

จะช่วยฝึกเรื่องการพัฒนาการเรื่องการโต้ตอบ ของเด็กได้ดี

เดียร์ ล้อขาว HRCW @Rz Zone

Offline zpeed

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 663
  • Gasoline is in my blood
I'm glad I have 2-Disney Channel, 2-Noggin, Discovery Kid, Cartoon Network for my kid.  But I did let my son watch Kill Bill #1 with me.  That is pretty movie for the kid.  I try to explain to him that just an act not real.  ;D ;D  Both of my kid learn english from TV before they go to school.  They speak better than me hahahaha  ;D
« Last Edit: March 19, 2005, 01:15:40 am by zpeed »
Good Driver can make slow car go fast but Fast car won't make slow driver fast.

Offline grandprix

  • Group N Racer
  • **
  • Posts: 54
    • www.club1500cc.com
อืม... น่าคิด 8)

ผมไปอ่านหนังสือเจอมาเค้าบอกว่า การเปิดทีวีให้เด็กดู (ในเด็กเล็ก) จะทำให้เด็กพัฒนาการ(พูด) ช้า

เค้าบอกว่า ควรจะพูดคุยกับเด็กบ่อยๆ  แม้ว่าเค้ายังเล็กอยู่ หรือยังพูดไม่ได้ก็เหอะ

จะช่วยฝึกเรื่องการพัฒนาการเรื่องการโต้ตอบ ของเด็กได้ดี



ใช่แล้ว ผมก็เคยอ่านเจอเหมือนกัน เกี่ยวกับการพัฒนาการของเด็กจะช้า หากเฝ้าหน้าจอมากๆ
ทีแรกยัง งง อยู่เลย ว่าพัฒนาการน่าจะเร็ว เพราะรับรู้สิ่งต่างๆ จาก TV แต่กลายเป็นว่ารับรู้สิ่งยั่วยุทาง TV มาซะมากกว่า และกลายเป็นความเก็บกด หรือระบายออกมาในทางก้าวร้าว
อย่างพวกโฆษณาโลชั่น โคโลญท์ต่างๆ แนวคิดไม่เข้าท่าเลยผมว่า