Author Topic: สูตร.......RB-26  (Read 6563 times)

Offline FIA

  • Amateur Racer
  • *
  • Posts: 17
  • I'm a llama!
สูตร.......RB-26
« on: March 19, 2004, 03:57:45 pm »
    .นานมาแล้ว... เคยมี นักแข่งรถคนนึง  เข้ามาถาม กับ ทาง FIA ว่า......  หากเราจะ ปรับ ความจุฝากับเครื่อง RB-26   (86 x 73.7) เราจะใช้ ความจุฝาที่เท่าไหร่ ดีที่สุด......   ทาง FIA  ได้ฟังแล้วก็  ตอบส่งๆไปว่า  หากพวกมึงๆ โอเวอร์ไซด์   ไม่เกิน 1 มิล  หรือ เพิ่มกระบอกสูบเดิมๆ  หรือไม่เกิน 87 มิล.....  ก็ควรจะใช้ ความจุฝา ที่มาณ 60.5 cc. - 61 cc.   ดีที่สุด    ถึง อัตราส่วนการอัดที่ได้ขึ้นมาใหม่ มันจะ ลดน้อยลงไปบ้าง หรือ ต่ำกว่า 8.5 : 1   ก็จริง.....  แต่เวลาใช้งาน หรือ หากตอนที่ เวลา เกินการบูสท์ หรือ ช่วงการทำงาน ของ เทอร์โบ เกิดขึ้นมา  เราจะได้ ความรู้สึกที่ขัดเจน  หรือ น้ำหนักอากาศ หนักแน่กว่า.. การเพิ่มบูสท์อากาศให้มากขึ้น    แถม ความร้อน ที่เกิด กับ หัวเทียน ก็ น้อยลงด้วยด้วย.. เช็คคราบเข่มาก็ง่ายแล้วก็ชัดเจน.........แถม  บูสท์ มันมาไว ขึ้น อีกนิดนิด ด้วยนะ........ (ม้าลำพอง เขียน)..
             

Offline FIA

  • Amateur Racer
  • *
  • Posts: 17
  • I'm a llama!
Re:สูตร.......RB-26
« Reply #1 on: March 20, 2004, 11:25:10 am »
        ......หลังจาก ที่นักแข่งคนนั้น ได้รับทราบ ความจุฝาสูบ ของ เครื่องRB-26... จากทางที่ FIA ตอบอย่างสุภาพ ตามนิสัยภาษาคนยุโรบ  ไปแล้ว  .....ก็เข้าใจ ถึงความจริงใจของ FIA ก็ได้ลองเอาไปปรับดู  ก็เห็น ว่า แทบจะไม่ต้อง ทำอะไรกับฝาสูบมาก เลย นอกจากแค่ บดวาล์ว ทั้ง 4ตัว  ต่อ 1สูบ...  ให้ รับหน้าสัมพัธ ให้ มากขึ้นอีกนิด ..... แล้ว ความร้อนที่ หลัง วาล์วมันก็ลดน้อยลง อีกนิดนึงด้วย อุณภูมิ อากาศ หรือ ไอดีของบูสท์น้ำหนัก ก็ ลดลง  น้ำหนักความเร็วในท่อร่วมไอดีในการบูสท์อากาศ....หนักขึ้น  .....โดยที่เพื่อ บูสท์อีกอากาศแค่นิดเดียว ก็ดึงแล้ว.....ไม่ต้องเพิ่มบูสท์มากๆ เหมือนฝาเดิมๆจากโรงงาน.......  แถม ยังเซต โบล์ออฟวาล์ว  ง่าย กว่าเดิมอีก เพียบ  ได้ความรู้สึกในการเพรส อากาศทิ้งอย่างชัดเจนอีกต่างหาก...... นักแข่งคนนั้น เข้าใจ ถึงความละเอียดอ่อนกับ คำตอบ จากทาง FIA...... จึงเอาไป แนะนำกับ เพื่อนๆ ในกลุ่มๆเดียวกัน............ แต่ปัญหา ที่ตามมาคือ  บางคน  บอกว่า หัวฉีดเดิมๆ น้ำหนัก มันยังไม่ค่อยดี .... บางคนก็บอกว่า  เบาไป.......  บางคนบอกว่า หนักไป....  ทางกลุ่ม ก็เลยหา ตัวแทน ขึ้นมา อีก 1 คน ..... เพื่อที่จะไปถามกับทางคณะกรรมการ FIA  อีกครั้ง.......  
                     เหตุการณ์     ต่อไปนั้นจะเป็นอย่างไร........   โปรดติดตามได้.......ในตอนต่อไป..
                                                                                             ........ ม้าลำพอง   FIA...........

Offline FIA

  • Amateur Racer
  • *
  • Posts: 17
  • I'm a llama!
Re:สูตร.......RB-26
« Reply #2 on: March 21, 2004, 07:46:30 pm »
      วันนึงขณะที่ FIA นั่งเล่น  เหมือนกำลังรออะไรบางอย่างอยู่........  เพื่อนในกลุ่มนักแข่ง  ก็เข้ามาปรึกษา........แล้วก็ถามแนมๆ ว่า   นั่งรออะไรอยู่เหรอครับ......FIA ตอบว่า กำลังนั่งรอคำตอบ ค่าเขียนต้นฉบับที่ส่งไปแล้ว   ยังไม่มีวิ้วแวว ว่าจะได้ตังค์กลับมาใช้เลย........
                 มันต้องเป็น  ค่าต้นฉบับ เรื่อง ประเก็น กับ เรื่อง ไอดีตกค้างแน่ๆ..ที่ส่งไป..........
       แล้วมึงๆคิดยังไง  กับ คำตอบของกู FIA แล้ว มีธุระอะไร อีกหละวันนี้........
               นักแข่งถามถึงเรื่องค่าใช้งานของ หัวฉีด  หากเราไม่ได้เน้นที่ใช้ในการแข่งขัน   หรือ ทำเพียงแค่ เพิ่มอัตราเร่ง ระหว่างใช้งาน รวมไปถึง  แข่งขัน  เราจะใช้หัวฉีด ขนาดไหนดี.......
               กูตอบมากๆ ไม่ได้นะ เพราะมันผิด กติกาหรือ ผิดเรื่อง มารยาในการแนะผู้ที่ไม่มีใบขับขี่ จากทาง  FIA...  แต่จะบอกเท่าที่พอจะบอกได้ก็แล้วกัน... ว่า เครื่อง RB-26 ที่บอกไปนั้น  เพียงแค่ เพิ่ม ขนาดหัวฉีด ให้ จ่าย น้ำมันระหว่าง อัตราเร่งให้ ได้ ประมาณ385 cc/นาที ต่อ 1 หัว..... คือ ทำงานเต็ม 100 % ที่ 385 cc/นาที ......  ขนาดนี้ กำลังดี ไม่หนัก จนเกินไปนัก... หากเราใช้ ค่าน้ำมันที่ ปริมาณมากๆ มันจะหนักเกินไป   แล้วก็ อาจจะต้องมาเพิ่ม น้ำหนักบูสท์ อากาศ   ให้ พอดีกับน้ำมัน ....   เดี๋ยวจะกลายเป็นเรื่องใหญ่  ..... ไปซะอีก.....   แต่ที่บอกไป  ขนาดหัวฉีดไปนี้  มันให้น้ำหนักอัตราเร่งคงที่ สูงสุดประมาณที่บูสท์ อากาศ 1 บาร์ .....เท่านั้น   หลังจากนั้นไปแล้วจะไม่ค่อย ตึง  ถึงเราจะเพิ่ม บูทส์ อากาศ  ให้มากกว่า 1 บาร์ ก็ตามที........หากเราให้ น้ำหนักมากไปกว่านี้ มันเป็น อันตรายต่อโครงสร้าง  ช่วงล่างคือ ระบบรองรับน้ำหนัก แล้วก็ หน้ายาง.......    ที่FIA บอกไปนั้น จะเน้นที่ ให้รอบ เครื่อง จัดขึ้น เท่านั้นเอง   โดยที่ใช้รอบเครื่องที่ไม่มี น้ำหนักมากนัก......   แต่เราต้องเพิ่มน้ำหนัก หรือ ความรู้สึก ด้วยการ ใส่บูสท์ อากาศลงไป.........  ก็เท่านั้นเอง......นี่แหละ แนวคิดหรือแนวทางการ พัฒนาเครื่องหัวฉีด.......ที่ใช่ในการแข่งขัน เท่านั้นนะ.....  ห้ามเอาไปใช้นอกพื้นที่ หรือนอก กฏกติกา...
                                                  ...............  มันแตกต่างจากคาร์บูเรเตอร์ อย่างสิ้นเชิง ...............      
                                                                          ............ ม้าลำพอง  FIA...........

Offline FIA

  • Amateur Racer
  • *
  • Posts: 17
  • I'm a llama!
Re:สูตร.......RB-26
« Reply #3 on: March 22, 2004, 06:12:34 pm »
         หลังจากที่นักแข่งเหล่า ได้เอาข้อมูลที่ FIA แนะนำไปลองทอสอบดู....... ด้วยการ เทส หัวฉีด ...เพื่อหาจำนวนปริมาณน้ำมันสูงสุด ของหัวฉีดแต่ละหวั ให้ได้ 385 cc/นาที.... ก็มีคำถามเกิดขึ้นในกลุ่มขึ้นมามา  ว่า   ทำไมถึงใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนมากขนาดนี้.... หากคิด ทั้งหมดกับ เครื่อง RB-26  ทั้ง 6 หัว มันกินน้ำมัน เฉลี่ย 2310 cc/นาที หรือ ตกประมาณ 2 ลิตรกว่าๆ........หากถังน้ำมันเชื้อเพิลงมี ขนาดความจุ 70 ลิตร  หากคิด คร่าวๆ ก็ ใช้ ได้ ประมาณ 30 นาที เท่านั้นเอง.......นักแข่งที่ทำการ ทดสอบหัวฉีด จึง กลับไปสอบถาม ถึงความเข้าใจ กับ  FIA ครั้ง ว่าทำไม่ ถึงให้เผื่อ จำนวนปริมาณน้ำมันมากขนาดนี้............. เพราะวา หลายคน  กลัวว่า หากใช้ในการแข่งขันไปแล้ว จะไม่จบการแข่งขัน.......ในเกมส์ที่ใช้เวลานานๆ   นอกการ   ในเกมส์ ควอเตอร์ไมล์........
             หลังจากที่  ถามกับ  FIA  ก็ได้คำตอบว่า...... ถึงเราจะใช้ หัวฉีด ขนาดปริมาณมากๆ ก็จริงๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องให้มันทำงานมาก อย่างนั้นเสมอไป....... ลองคิดดูดีๆว่า ขณะ เวลาที่เวลา เทส หรือ ทดสอบ  เรา เริ่มทดสอบ ที่ 0 ถึง 385 cc/นาที  ก็จริง......  แต่หากใช้งานจริงๆแล้ว  หรือ ใช้งานร่วมกับ บูสท์ อากาศ   เราอาจจะใช้  น้ำมันเชื้อเพลิง แค่ 50 เปอร์เซ็น เท่านั้นเอง.........หรือ เวลา หากรอบเดินเบา  เราอาจจะใช้ น้ำมันเชื้อเพลิง ในช่วงนั้นๆ ไม่ถึง 50 cc ก็ได้......มันไม่ได้สิ้นเปลื้องอย่างตัวเลขที่เราเห็นหรอก....  มันขึ้นอยู่กับว่า เราจะวางแผน  กล่อง ECU. แบบไหน ต่างหาก   .......  หากคิดดีๆ  มันอาจจะเป็นโจทย์ ที่ FIA ตั้งให้เอาไว้เป็นแนวคิด..ว่าอัตราเร่งที่ดี  มันต้องปลอดภัย...... หากเราใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงในปริมาณที่น้อยเกินไปกว่าน้ำหนัก บูสท์อากาศ   มันไม่ได้มีผลดีอะไรขึ้นมาเลยจากการแข่งขันแถมเทอร์โบที่เราให้ใช้ใน กติกายังเป็นอันตรายเกินไปอีกด้วย....  ที่ FIA  แนะนำไปนั้น    ที่ให้ใช้ น้ำมันเชื้อเพลิงมากๆ เพื่อ ...  เผื่อเอาไว้ เวลาที่เราต้องเร่งใบ ของเทอร์โบ...  ด้วยคันเร่ง....เช่นในช่วงจังหวะที่  ลิ้นเร่งหรือ ปีกผีเสื้อ ทำงาน ไม่แน่นอน .... ความหนาของน้ำมันเชื้อเพลิง   ที่เราเพื่อให้   มันจะช่วยให้ก๊าซ ไอเสียและความร้อนมีน้ำหนักมากพอในการดันใบฝั่งไอเสีย  ในการบูสท์......   หากคิดดีๆ  ว่าเวลาช่วงนั้นๆ ที่เราเสียน้ำมันเชื้อเพลิงไป   มันคงจะไม่เกิน 10 วินาที...... จริงไม๊  กับ แค่การเร่งใบของเทอร์โบ...  หลังจากบูสท์ เต็ม จำนวนน้ำมันก็ ลดลงเอง ด้วยการเช็ค ของเซ็นเซอร์..  มันคุ้มค่ามากกว่า........   แต่ FIA ก็ไม่รู้นะว่า นักแข่งทุกๆคน จะเข้าใจ ใน สิ่งที่ FIA แนะนำมากน้อยแค่ไหน.........   อีกอย่าง หากน้ำมันเชื้อเพลิงที่น้ำหนักน้อยกว่า น้ำหนักบูสท์ อากาศ  นอกจาก รถจะไม่มีน้ำหนักระหว่างอัตราเร่งแล้ว   ยังมีผล เรื่องความร้อน ที่หน้ายางอีกด้วย.......  แล้วบูสท์ อากาศ ก็ไม่แน่นอน  หรือ ไม่หน้าเชื่อถือ .. หรือเรียกว่า บูสท์มันไม่แน่ๆ  หรือ จำนวนบูสท์อากาศไม่ตรงกับ เพรสเชอร์ที่เรามองเห็น ในห้องคนขับ  นั้นแหละ...   .....FIA ถึงแนะนำให้ใช้ เขม่า  ที่เหลือจากการเผาไหม้  กลับมาใช้ให้เป็นจะประโยชน์  ดีกว่า ที่ใช้แรงดันจากความร้อน จากการจุดระเบิด ในการ ดันใบเทอร์โบ..... มันเป็น อะไรที่ มี มวล  มันเนื้อหนัง มากกว่า.......... หรือได้ความรู้สึก ที่ดีกว่า.....
    จริงๆ  แล้วที่ FIA บอกไป นี้มันเป็น ทริค  ที่บางทีม เค้า นิยม ใช้ในการแข่งขันมากกว่านะ......
...เอ....แล้วถังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการแข่งขันเดี๋ยวนี้ เค้า อนุญาติให้ ใช้ ใหญ่ สุด ที่ความจุ กี่ ลิตร หละ.........  
                                                                       .........ไม่มีอะไรที่จะยากไปกว่าความเข้าใจ...........
                                                                                            ....ม้าลำพอง  FIA....

Offline FIA

  • Amateur Racer
  • *
  • Posts: 17
  • I'm a llama!
Re:สูตร.......RB-26
« Reply #4 on: March 24, 2004, 10:47:07 am »
      .........และแล้ว ผลสรุป ระหว่าง FIA และ นักแข่งหลายๆคน ก็มาถึง ว่า ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ มันหมายถึงรถ หรือ เครื่องยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน เท่านั้นนะ หรือ รถที่เราคงเอามาขับขี่ตามท้องถนนไม่ได้.........การที่เรา เพิ่มแรงดันอากาศหรือ บูสท์ น้ำหนักอากาศ ด้วยปริมาณ การเผาไหม้ จากน้ำมันเชื้อเพลิง มันเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีนึง.... แต่ก็ยังไม่ใช้วิธีที่ดีที่สุด.....   วิธีนี้นอกจาก  ไม่ต้องเพิ่มรอบเครื่องยนต์ หรือ ไม่ต้องเร่งรอบเครื่องเพิ่มปริมาณ ความร้อน.....ในการขับดันใบเทอร์โบ....มันยังเป็นการรักษาอุณหภูมิความร้อนที่อยู่ภายในกระบอกสูบ ให้ คงที่กับการเผาไหม้ได้อีกด้วยนะ..........แล้ว อุณหภูมิไอเสียของเทอร์โบก็ใกล้เคียง กับ อุณหภูมิที่อยู่ภายในกระบอกสูบ...........
             หากจะพูดจริงๆ แล้ว ระหว่างที่เราใช้อัตราเร่งคงที่  เราใช้ปริมาณน้ำมันในการเผาไหม้ เพียง 155 cc/สูบ   หรือ ประมาณ 930 cc ...เท่านั้น หัวฉีดขนาด 930cc/6สูบ เราคงพอหาซื้อได้ตามสำนักแต่งที่เค้ามาเปิดบริการภายในประเทศ......... แต่หากจะสั่งหัวฉีดขนาด 385 cc /นาที ที่เห็นว่าเค้าน่าจะรับสั่งทำก็ในอเมริกา เช่นในกลุ่มที่ทำเครื่องยนต์ที่มี คอมเพสรเซอร์ เช่น กลุ่มควอเตอร์ไมล์  หรือ ไม่ก็หัวฉีดแบบยุโรบ แบบของ บอรส์ท    ก็น่าจะดีแต่ ราคา มันน่าจะสูงมาก หากเราซื้อมาพร้อมกับซอฟแวร์...  แต่หากจะเอาไปเปรียบเทียบกับ  รถที่ใช้ตามบ้าน ก็คงไม่ได้ เพราะมันคนละเรื่องกัน..... ถึงแม้ว่าโจทย์ จะเป็น เครื่องยนต์ เหมือนกันก็ตามที.........    ที่เขียนแบบนี้ เพราะFIA กลัวว่า หลายๆคนจะเข้าใจผิด แล้ว เอาข้อความแบบนี้ไปเปรียบเทียบกับรถยนต์ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน........ซึ่งผลลัพ มันไม่มีทางเหมือนกันแน่ๆ  หากเราจะเอามาเปรียบเทียบ........
                                                                                                         ........ม้าลำพอง  FIA......

Offline FIA

  • Amateur Racer
  • *
  • Posts: 17
  • I'm a llama!
Re:สูตร.......RB-26
« Reply #5 on: March 24, 2004, 11:13:50 am »
       หลังจากที่ FIA จะลาจากนักแข่งไปพร้อมๆกับ คอลัมนี้ ......ก็ทิ้งท้าย บอกกับนักแข่ง  หน้าใหม่ที่สนใจ เอาไว้ว่า  หากเราต้องการ  น้ำหนักอากาศ ที่ดี และแน่นอนจาก เทอร์โบ   แน่นอนว่าเราต้องรู้ก่อนว่า  ปริมาณไอเสีย ที่เครื่องยนต์เราผลิตขึ้นนั้นมีมากน้อยแค่ไหน   และไอเสียที่เหลือจากการเผาไหม้ต้องมีแรงดัน ของไอเสีย  มากกว่า ความร้อน ของไอเสีย..เท่านั้น.......  แรงหมุนของใบมันถึงจะมีน้ำหนักมากพอในการสร้างน้ำหนักอากาศ ในขณะที่รอบเครื่องคงที่  หรือ  ที่รอบเครื่องไม่ทำงานสูงเกินไปเพื่อสร้างรอบการหมุนของเทอร์โบ ............แบบนี้มันเป็นวิธีที่ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ คือ หากเราสร้างการหมุนของรอบเทอร์โบด้วยการ เพิ่มรอบเครื่องยนต์...........ความร้อนของไอเสีย  ในที่นี้หมายถึง ต้นเหตุของแรงม้า  อย่าคิดว่า แรงม้าที่เราได้จากความร้อน มันจะดีเสมอไป    ...  แรงม้าที่ได้จากความร้อน มันทำลายชิ้นส่วนหรือ วัสดุ ของเครื่องยนต์  แล้ว ก็ ทำลายคุณภาพน้ำมันเครื่องอีกด้วย...........หากเราใช้รอบเทอร์โบสูงเกินไปในการ สร้างน้ำหนักอากาศหรือ บูสท์ อากาศ   มันจะทำให้ อากาศที่เราได้มีความเครียด จากแรงหมุนของใบเทอร์โบ  จนอากาศกลายเป็น ไอความร้อนที่เข้าไปในกระบอกสูบ.......มันหมายถึงความหน้าแน่ ของน้ำหนักอากาศก็รถน้อยลงด้วย   เพราะมันขยายตัว......จากการหมุนของใบเทอร์โบที่รอบ สูงมากเกินไป.........    จริงๆ แล้ว เทอร์โบ  มันจะให้ อากาศ ที่หนาแน่ๆ และคงที่ ในการอัดอากาศ ในรอบที่ไม่ เกิน  88000 รอบ/นาที เท่านั้น......  หากเราจะมองว่า เทอร์โบ มันหมุนได้ เป็นแสนๆ รอบ ....มันคงจะเป็นอะไรเบาบาง เกินไปซะมากกว่า.........จบเรื่อง RB-26.........
                       ........... วุฒิทางการศึกษามันไม่ช่วยให้เราไปถึงเส้นไชในการแข่งขันจริงได้............
                                                          ......... ม้าลำพอง   FIA .......