Author Topic: เตือนน้ำมันทอดอาหารซ้ำถึงขั้นมะเร็ง เผยเมนูสุดเสี่ยง - กล้วยทอด,ทอดมัน,ปาท่องโก๋  (Read 11167 times)

Offline O'Pern

  • fear is a mind killer
  • Administrator
  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 7411
  • don't let your fear stand in the way of your dream
    • racing club
น.พ.โกวิทย์ อิงศิโรรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า ในการใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำหลายๆ ครั้ง เช่น กล้วยทอด มันทอด ทอดมัน ปาท่องโก๋ ไปจนถึงอาหารฟาสต์ฟู้ดประเภทไก่ทอด เฟรนช์ฟราย หรือแม้แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรอบขบเคี้ยวต่างๆ ที่ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาหารเหล่านี้มักใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายๆ ครั้ง อีกทั้งมีการเพิ่มเติมน้ำมันลงไปในน้ำมันเก่าที่ผ่านการทอดมาแล้ว จนน้ำมันเปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีดำ โดยมีลักษณะข้นเหนียว และยังมีการนำไปจำหน่ายให้กับผู้ค้ารายย่อยอีกครั้ง ซึ่งคุณภาพของน้ำมันเหล่านี้จะเสื่อมลง ทั้งสี กลิ่น และรสชาติที่เปลี่ยนไป และมีความหนืดมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดสารประกอบที่สามารถสะสมในร่างกาย ซึ่งได้มีการทดลองในสัตว์ทดลองแล้ว พบมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง และพบว่าสารบางชนิดในน้ำมันที่เสื่อมคุณภาพจากการทอดซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น มะเร็งผิวหนัง ตับและปอด ดังนั้นจึงได้มีการออกกฎหมายห้ามจำหน่ายน้ำมันทอดซ้ำแก่ร้านอาหารหรือผู้ปรุงอาหารอื่นๆ เพื่อนำไปทอดต่อโดยเด็ดขาด หากกระทำฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดฐานจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับผู้ขายอาหารทอดต่างๆ ไม่ควรใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายๆ ครั้ง เพราะยังเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารทอดจากพ่อค้าแม่ค้า ที่ทอดด้วยน้ำมันใหม่ๆ สีเหลืองใส หากน้ำมันมีสีดำ ผู้บริโภคไม่ควรซื้อมารับประทานโดยเด็ดขาด


Source - หนังสือพิมพ์ข่าวสด
i drive / i race / i test / I drift
I row / I run / I fun / I ride

Offline O'Pern

  • fear is a mind killer
  • Administrator
  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 7411
  • don't let your fear stand in the way of your dream
    • racing club
ใช้น้ำมันทอดซ้ำมีความเสี่ยงอันตราย จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง มะเร็งในเม็ดเลือดขาวอีกทั้งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2547 รายการ “รายการนี้ไม่มียี่ห้อ” หรือ NO LOGO ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี 3 ทุกวันพุธเวลา 21.30 น. – 23.00 น. นำเสนอตอน “ภัยน้ำมันทอดซ้ำ” โดยมีนางจิตรา เศรษฐอุดม ผู้อำนวยการกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ ศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ ศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงงานวิจัยน้ำมันทอดซ้ำว่า ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำมันจากท้องตลาดโดยทั่วไป รวมถึงร้านแผงลอย ซึ่งมันที่ไปเก็บมานั้นมีทั้งน้ำมันกล้วยทอด น้ำมันทอดปาท่องโก๋ น้ำมันทอดเต้าหู้ เป็นต้น ซึ่งสรุปผลการวิจัยออกมาเป็นดังนี้

การปรุงอาหารบริโภคเอง หรือปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายควรเลือกซื้อน้ำมันบริโภคอย่างไร
ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันจากไขสัตว์เช่น น้ำมันหมูและน้ำมันวัว เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอล ควรใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารโดยเลือกน้ำมันพืชให้เหมาะสมกับวิธีการปรุงอาหาร หากทอดอาหารแบบน้ำมันท่วมควรใช้น้ำมันที่ทนความร้อนสูงและเสื่อมสลายตัวช้า เช่น น้ำมันปาล์มโอเลอิน น้ำมันพืชที่ผ่านการไฮโดรจิเนชันที่มีกรดไขมันทรานซ์ต่ำ หรือน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนลินิกน้อยกว่าร้อยละ 2 ไม่ควรใช้น้ำมันถั่วเหลืองในการทอดอาหาร เนื่องจากมีกรดไลโนลินิกสูงถึงร้อยละ 6 – 7 แต่ถ้าผัดอาหารใช้น้ำมันพืชทั่วไปเช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวันเป็นต้น

น้ำมันพืชปรุงอาหารควรมีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่งสูง (กรดโอลิอิก) และมีกรดไขมันจำเป็นเช่น กรดไลโนลิอิกและกรดไลโนลินิกพอควร โดยมีกรดไลโนลินิกซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวสามตำแหน่งประมาณน้อย

มีรายงานการวิจัยพบว่ากรดโอลิอิกที่มีมากในน้ำมันมะกอกสามารถลดระดับแอลดีแอล-โคเลสเตอรอล และเพิ่มหรือไม่เปลี่ยนแปลงระดับเอชดีแอล-โคเลสเตอรอลในเลือด ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่น้ำมันมะกอกราคาแพง น้ำมันรำข้าวซึ่งผลิตในประเทศไทยมีกรดโอลิอิกสูงประมาณ 2/3 ของน้ำมันมะกอก จึงเป็นน้ำมันที่เป็นแหล่งของกรดโอลิอิกได้

ควรใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายๆครั้งหรือไม่
ไม่ควร ระหว่างการทอดอาหารแบบน้ำมันท่าวที่ใช้น้ำมันปริมาณมาก อุณหภูมิสูงประมาณ 170 – 180 องศาเซลเซียสและทอดเป็นระยะเวลานาน น้ำในอาหารและออกวิเจนจากอากาศจะไปเร่งการเสื่อมสภาพของน้ำมัน ทำให้น้ำมันแตกตัว ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน และสร้างเป็นสารโพลิเมอร์ในน้ำมัน มีผลให้สี กลิ่น และรสชาติของน้ำมันเปลี่ยนไป จุดเกิดควันลดต่ำลง ฟองและความหนืดมากขึ้น

นอกจากนี้น้ำมันซึ่งเดิมเป็นสารไม่มีประจุเกิดการแตกตัวเป็นสารมีประจุ(สารโพลาร์) เช่นกรดไขมันอิสระ โมโนเอซิลกลีเซอรอล และไดเอซิลกลีเซอรอล แม้สารประกอบดังกล่าวไม่มีอันตรายต่อร่างกาย แต่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน หากใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายๆ ครั้ง การเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหารจะเกิดมากขึ้น มีการสะสมสารที่ไม่พึ่งประสงค์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การนำน้ำมันบริโภคมาใช้ซ้ำจะมีผลเสียอย่างไรต่อร่างกาย
น้ำมันที่ผ่านการทอดอาหารซ้ำนานเกินไปมีคุณค่าทางโภชนาการลดลง ในหนูทดลองพบว่าทำให้การเจริญเติบโตลดลง ตับและไตมีขนาดใหญ่ มีการสะสมไขมันในตับ การหลั่งน้ำย่อยทำลายสารพิษในกระเพราะอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นมีไขมันที่ออกซิไดซ์ปริมาณสูงอาจทำให้ไลโปโปรตีนชนิดแอลดีแอลมีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น รวมทั้งมีกรดไขมันทรานซ์เกิดขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ส่วนไอระเหยจากน้ำมันทอดอาหารอาจมีผลต่อแม่บ้าน ผู้ประกอบการ หรือพนักงานที่สูดดมเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งที่ปอดกับการสูดไอระเหยจากการผัดหรือทอดอาหารของผู้หญิงจีนและไต้หวันที่ไม่สุบบุหรี่ และพบสารก่อกลายพันธุ์ในไอระเหยของน้ำมันทอดอาหาร ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดเนื้องอกในตับและปอดและมะเร็งในเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง

นอกจากนั้นยังเกิดสารอะโครลิอีนทำให้ระคายเคืองเยื่อบุตา จมูก และลำคอ มีสารก่อมะเร็งเกิดขึ้นในน้ำมันเช่น สารมาโลนไดดีไฮด์ (MDA) สาร 4 – ไฮดรอกซี – 2 – โนนีนอล (HNE) สารโพลีโซคลิกอะโรเมติคไฮโดรคาร์บอน หรือสารพีเอเอช และอื่นๆ

สาร MDA ทำให้เกิดมะเร็งบนผิวหนังของหนูทดลอง การเจริญเติบโตผิดปกติ ลำไส้ทำงานผิดปกติ ตับและไตโต โลหิตจาง วิตามินอีในเลือดและตับของหนูทดลองลดลง ส่วนสาร HNE มีพิษต่อเซลล์ซึ่งอาจก่อให้เกิดการกลายพันธ์ได้เช่นกัน สารโพลาร์ในน้ำมันที่ผ่านการทอดอาหารมีฤทธิ์ต่อการกลายพันธุ์ที่สุด หลังจากใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำนาน 20 ชั่วโมง

สารพีเอเอช เช่นสารเบโว(เอ) ไพรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งพบประมาณต่ำๆ ในน้ำมันพืชใหม่และไอระเหยของน้ำมันทอดอาหาร

แม้สารก่อมะเร็งที่เกิดขึ้นในน้ำมันทอดอาหารมีปริมาณน้อยและร่างกายมีกลไกการกำจัดสารพิษได้ แต่หากใช้น้ำมันทอดซ้ำหรือไม่มีการเปลี่ยนน้ำมันเลย สารที่เกิดขึ้นในน้ำมันเหล่านี้จะเข้มข้นขึ้น เนื่องจากอาหารสามารถดูดซับน้ำมันระหว่างการทอดได้ประมา 5 – 40 % จึงทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารก่อมะเร็งซึ่งมีผลต่อสุขภาพในระยะยาว

มีข้อแนะนำในการเลือกซื้ออาหารบริโภคจากแหล่งต่างๆ อย่างไร
ควรหลีกเลี่ยงไม่ซื้ออาหารทอดจากร้านค้าที่ใช้น้ำมันมีกลิ่นเหม็นหืน เหนี่ยว สีดำคล้ำ ฟองมาก เหม็นไหม้ เวลาทอดมีควันขึ้นมากแสดงว่าน้ำมันใช้ซ้ำมานาน ทำให้น้ำมันเกิดควันที่อุณหภูมิต่ำลง อาหารอมน้ำมันและหลังการบริโภคเกิดการระคายเคืองคอ

มีข้อแนะนำในการใช้น้ำมันทอดอาหารอย่างไร
1. ในครัวเรือนไม่ควรใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำเกิน 2 ครั้ง
2. หากจำเป็นต้องใช้น้ำมันซ้ำให้เทน้ำมันเก่าทิ้งหนึ่งในสามและเติมน้ำมันใหม่ก่อนเริ่มการทอดอาหารครั้งต่อไป แต่ถ้าน้ำมันทอดอาหารมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีดำ ฟองมาก เป็นควันง่ายและเหม็นไหม้ ควรทิ้งไป
3. ไม่ทอดอาหารไฟแรงเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมของน้ำมันประมาณ 160 – 180 องศาเซลเซียส
4. ซับน้ำส่วนที่เกินบริเวณผิวหน้าอาหารดิบก่อนทอด เพื่อชะลอการเสื่อมสลายตัวของน้ำมัน
5. หมั่นกรองกากอาหารทิ้งระหว่างและหลังการทอดอาหาร
6. เปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารบ่อยขึ้นหากทอดอาหารประเภทเนื้อที่มีส่วนผสมของเกลือหรือเครื่องปรุงรสประมาณมาก
7. ปิดแก๊สทันทีหลังทอดอาหารเสร็จ หากยู่ระหว่างช่วงพักการทอด ควรราไฟลงเพื่อชะลอการเสื่อมตัวของน้ำมันทอดอาหาร
8. หลีกเลี่ยงการใช้กะทะเหล็ก ทองแดง หรือทองเหลือง ในการทอดอาหาร เพราะจะไปเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมันทอดอาหาร
9. เก็บน้ำมันที่ผ่านการทอดอาหารไว้ในภาชนะสแตนเลสหรือแก้วปิดฝาสนิท เก็บในที่เย็นและไม่โดนแสงสว่าง
10. ล้างทำความสะอาดกะทะหรือเครื่องทอดอาหารทุกวัน น้ำมันเก่ามีอนุมูลอิสระของกรดไขมันอยู่มากจะไปเร่งสารเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหารใหม่ที่เติมลงไป
11. บริเวณทอดอาหารควรติดเครื่องดูดควันและมีการระบายอากาศที่ดี
12. ตรวจสอบคุณภาพน้ำมันทอดอาหารเป็นระยะๆ สารโพลาร์ไม่ควรเกิน 25 กรัม/100 กรัมของน้ำมัน สารโพลิเมอร์ไม่เกิน 10 กรัม/ 100 กรัม ของน้ำมัน หรือจุดเกิดควันไม่ต่ำกว่า 170 องศาเซลเซียส หากเกินค่าที่กำหนดควรเปลี่ยนน้ำมันใหม่

การบริโภคน้ำมันปรุงอาหารจากหลายแหล่งทำให้ได้กรดไขมันที่หลากหลาย จึงควรหมุนเวียนการใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงน้ำมันจากไขสัตว์ ไม่ควรบริโภคน้ำมันมากเกินไป ลดความถี่ในการบริโภคอาหารทอด ใส่ใจในการใช้น้ำมันทอดอาหารเช่น ไม่ทอดด้วยอุณหภูมิที่สูงเกินไป ไม่ทอดหารหารด้วยน้ำมันเก่าที่ใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เปลี่ยนน้ำมันใหม่ทุกครั้งที่ทอดอาหารและที่สำคัญไม่สนับสนุนให้ร้านประกอบอาหารทอดที่ใช้น้ำมันซื้อหลายจำหน่ายเพื่อความปลอดภยของท่านและครอบครัว

ข้อมูลจาก รายการ “รายการนี้ไม่มียี่ห้อ” NO LOGO
ตอน “ภัย...น้ำมันทอดซ้ำ” วันที่ 1 ธันวาคม 2547
ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี 3 (TTV.3) เวลา 21.30 – 23-00 น.
และ ข้อมูลการวิจัยของ
ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ ศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
i drive / i race / i test / I drift
I row / I run / I fun / I ride

Offline O'Pern

  • fear is a mind killer
  • Administrator
  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 7411
  • don't let your fear stand in the way of your dream
    • racing club
น้ำมันทอดซ้ำทำดีเอ็นเอกลายพันธุ์ ไก่ทอด-เฟรนซ์ฟราย-ขนมขบเคี้ยวตัวดี  
     
  การฝากท้องไว้กับพ่อค้าแม่ค้านอกบ้าน ดูจะเป็นเรื่องปกติของชาวเมืองหลวง จะมีสักกี่ครัวเรือนที่มีแม่บ้านตื่นมาทำอาหารรับประทานกันพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว แถมพกด้วยข้าวห่อสำหรับมื้อกลางวัน เชื่อว่าคงหาได้ยากเต็มทีสำหรับชีวิตที่รีบเร่งในแต่ละวัน จะมีกี่คนที่สำรวจตรวจตราอาหารแต่ละมื้อว่าเจือด้วยสารอันตรายอะไรบ้าง เริ่มจากข้าวปลาอาหารส่วนประกอบในการปรุงนั้นปลอดภัยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วก็จะรับประทานให้อิ่มท้อง ความสะอาดปลอดภัยดูจะเป็นปัจจัยถัดมา

ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังอย่างยิ่งก็คือ การใช้น้ำมันในการทำกับข้าวซ้ำกันหลายๆ ครั้ง เพราะมีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันถึงอันตรายออกมาเรียบร้อยแล้ว

น.พ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อ้างถึงผลการวิจัยของ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ และ ดร.พยเนตร อริยปิติพันธ์ อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสรุปว่า จากกระแสความนิยมบริโภคอาหารประเภททอด ซึ่งมีทั้งที่ทอดขายตามแผงลอยและรถเข็น เช่น กล้วยทอด มันทอด ทอดมัน ปาท่องโก๋ จนถึงร้านอาหารฟาสต์ฟูด ประเภทไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายด์ แม้แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรอบขบเคี้ยวต่าง ๆ ที่ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้มีการใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง

ทั้งในรูปของการเติมน้ำมันปรุงอาหารใหม่ลงไปในน้ำมันเก่าที่ผ่านการทอดมาแล้ว และไม่มีการเปลี่ยนน้ำมันใหม่ หรืออาจมีการเปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารใหม่หลังจากการทอดไปเป็นเวลานานหลาย ๆ วัน จนน้ำมันที่ผ่านการทอดอาหารนั้นเปลี่ยนจากสีเหลืองใสเป็นสีดำ และเนื้อค่อนข้างเหนียวข้น หนำซ้ำยังได้มีการนำน้ำมันที่ทอดซ้ำแล้วไปจำหน่ายต่อให้ผู้ค้ารายย่อยอื่น ๆ อีกด้วย

ทั้งนี้ จากรายงานการวิจัยพบว่าน้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำหลาย ๆ ครั้งนั้น จะมีคุณภาพที่เสื่อมลงทั้งสี กลิ่น รสชาติเปลี่ยนไป จุดเกิดควันลดลง และมีความหนืดมากขึ้น ที่สำคัญจะเกิดสารประกอบที่สามารถสะสมในร่างกาย และส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ได้ และจากข้อมูลการศึกษาในสัตว์ทดลองพบสาร mutagenesis ซึ่งอาจส่งผลให้ดีเอ็นเอกลายพันธ์ในเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งยังก่อให้เกิดเนื้องอกในตับ ปอด และก่อให้เกิดมะเร็งในเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง ขณะเดียวกันยังพบสาร carsinogenesis ที่ก่อให้เกิดมะเร็งบนผิวหนังอีกด้วย

"แม้โอกาสของการเกิดอันตรายดังกล่าวจะมีมีอยู่ไม่มาก แต่ก็จำเป็นที่จะต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการบริโภคอาหารทอด และมีความระมัดระวังมากขึ้น"


น.พ.ศุภชัย บอกด้วยว่า จากการสำรวจตัวอย่างน้ำมันทอดจากร้านแผงลอยและรถเข็น ได้แก่ น้ำมันทอดปลาท่องโก๋ น้ำมันทอดเต้าหู้ น้ำมันทอดไก่ น้ำมันทอดลูกชิ้น/ทอดมัน และน้ำมันทอดกล้วย/มัน/เผือก จำนวน 187 ตัวอย่าง น้ำมันทอดอาหารจากร้านอาหารจานด่วนจำนวน 64 ตัวอย่างและน้ำมันทอดบะหมี่จากโรงงานอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจำนวน 3 ตัวอย่าง พบน้ำมันที่ทอดซ้ำเสื่อมคุณภาพและอาจเป็นอันตราต่อสุขภาพถึงร้อยละ 13 เพราะฉะนั้น อย.จึงมีมาตรการที่เข้มงวดทางกฎหมาย โดยห้ามจำหน่ายน้ำมันทอดซ้ำแก่ร้านอาหาร หรือปรุงอาหารอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ต่อเด็ดขาด

"ผู้ประกอบการที่นำน้ำมันใช้แล้วมาขายให้กับพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย ถือว่ามีความผิดฐานจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท ดังนั้น จึงขอให้ผู้ปรุงอาหารทุกท่านไม่ว่าจะอยู่ในภัตตาคาร ร้านอาหาร ตามตลาดหรือแผงลอย โปรดคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้าด้วย และทางอย.จะเสนอระเบียบข้อบังคับในเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอาหารในครั้งต่อไป และจะออกเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุขคาดว่าจะบังคับใช้ได้ต้นเดือนกันยายนนี้"

ทั้งนี้ ข้อปฏิบัติของผู้ขายอาหารเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคคือ ต้องไม่ซื้อน้ำมันที่ผ่านการใช้แล้วมาทอดต่อ น้ำมันบรรจุในภาชนะที่มีฉลากผ่านการตรวจสอบจากอย. น้ำมันไม่ข้น และภาชนะอยู่ในสภาพปิดผนึก ไม่มีรอยฉีกขาด หลีกเลี่ยงไม่ใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำมากเกินไป หากน้ำมันทอดอาหารมีกลิ่นเหม็นหืน หนียวข้น สีดำ มีฟองมาก เป็นควันง่ายและเหม็นไหม้ ไม่ควรใช้ครั้งต่อไป

ส่วนน้ำมันที่ใช้ทอดควรมีความคงตัวสูง เช่น น้ำมันปาล์มโอเลอิน ไม่ควรทอดอาหารโดยใช้ไฟแรงเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมของน้ำมันประมาณ 160-180 องศาเซลเซียส หากทอดไฟแรงน้ำมันจะเสื่อมสลายตัวเร็ว หรือหากทอดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีส่วนผสมของเกลือหรือเครื่องปรุงรสปริมาณมาก ควรเปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารบ่อยขึ้น

หลีกเลี่ยงการเก็บน้ำมันที่ทอดแล้วในภาชนะที่ทำจากเหล็ก ทองแดง ทองเหลือง เพราะจะไปเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมัน ควรเก็บในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทในที่เย็นและไม่โดนแสงสว่าง

คำแนะนำการใช้น้ำมันทอดอาหาร
1.น้ำมันปรุงอาหาร ควรเป็นน้ำมันจากพืช หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันสัตว์ เพื่อมิให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ
2. น้ำมันทอดอาหารควรเป็นน้ำมันที่คงตัวและเกิดควันช้า เช่น น้ำมันปาล์มโอเลอิน
(จากเนื้อปาล์ม)
3. ไม่ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน
4. หากน้ำมันทอดอาหารมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ให้เปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารใหม่ทันที ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่ลงไปเจือจาง เช่น กลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีดำ เกิดฟอง ควัน เหม็นไหม้ ไอน้ำมันทำให้ระคายเคืองตาและลำคอเมื่อโดนความร้อน
5. ควรกรองกากอาหารทิ้งระหว่างและหลังการทอดอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทอดที่มีการชุบแป้งปริมาณมาก ควรใช้ตะแกรงหรือผ้าขาวบางกรองเศษอาหารและผงขนาดเล็กออกจากน้ำมันทอดอาหาร
6. ควรซับน้ำมันส่วนเกินบริเวณหน้าอาหารดิบก่อนทอด เพื่อลดการแตกตัวของน้ำมันทำให้ชะลอการเสื่อมสลายตัว ของน้ำมันทอดอาหาร
7. ควรทอดอาหารครั้งละไม่มากเกินไป เพื่อให้ความร้อนของน้ำมันทอดอาหารกระจายทั่วถึงและใช้เวลาในการทอดน้อยลง
8. ไม่ควรทอดอาหารด้วยไฟแรงเกินไป
9. ควรเปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารให้บ่อยขึ้น หากทอดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีสัตว์ที่มีส่วนผสมของเกลือหรือเครื่อง ปรุงรสปริมาณมาก
10. ควรล้างทำความสะอาดกระทะทอดอาหารหรือเครื่องทอดทุกวัน เนื่องจากน้ำมันเก่าสามารถไปเร่งการเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหารที่เติมลงไปใหม่

โดย
ผู้จัดการออนไลน์ 23 สิงหาคม 2547 18:10 น.  
 
i drive / i race / i test / I drift
I row / I run / I fun / I ride

Offline O'Pern

  • fear is a mind killer
  • Administrator
  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 7411
  • don't let your fear stand in the way of your dream
    • racing club
"น้ำมันอันตราย" ต้องรู้จักเลือกใช้ให้เป็น  
     
  ปัจจุบันน้ำมันพืชในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีส่วนประกอบของกรดไขมันในปริมาณที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีคุณสมบัติต่างกันด้วย ดังนั้น การเลือกน้ำมันเพื่อใช้ในการปรุงอาหารจึงมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องวิธีการปรุง รสชาติอาหาร ราคา หรือแม้แต่ผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เป็นต้น

ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ นักวิชาการจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในการเลือกน้ำมันเพื่อใช้ปรุงอาหารนั้น ผู้บริโภคจึงควรเลือกน้ำมันพืชแต่ละชนิดให้เหมาะกับกรรมวิธีการปรุงด้วย โดยหากใช้น้ำมันปรุงอาหารเพื่อประกอบอาหารทั่วไปที่ไม่ใช่การทอด เช่น การผัด ก็ควรเลือกน้ำมันชนิดที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง(กรดโอเลอิก) สูง และมีกรดไขมันจำเป็นพอควร ซึ่งน้ำมันมะกอกก็ถือเป็นตัวแนะนำที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เนื่องจากผลวิจัยพบว่า กรดโอเลอิกที่มีมากในน้ำมันมะกอก สามารถลดระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล(LDL-cholesteral) และเพิ่มเอชดีแอล คอเลสเตอรอล(HDL-cholesteral) ในเลือด ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

“ถ้าพิจารณาจาก***ส่วนของกรดไขมัน ผลต่อสุขภาพ ราคา และสินค้าที่มีจำหน่ายในประเทศแล้ว น้ำมันรำข้าวก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีอีกตัวหนึ่ง เพราะมีกรดโอเลอิกสูงพอสมควร แต่ทั้งนี้ การบริโภคน้ำมันพืชปรุงอาหารจากหลายแหล่ง ก็จะทำให้ได้กรดไขมันที่หลากหลาย จึงแนะนำว่า
ควรหมุนเวียนน้ำมันพืชในการปรุงอาหารชนิดต่างๆ และหลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันจากไขสัตว์ เป็นต้น”ดร.ทิพยเนตร กล่าว

อย่างไรก็ดี สำหรับการปรุงอาหารด้วยการทอดนั้น ควรใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวปริมาณมาก เพราะสามารถใช้ทอดอาหารที่มีอุณหภูมิสูงได้ดีกว่า นอกจากนี้ หากต้องการใช้น้ำมันทอดอาหารให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยที่สุด ก็ควรเลือกเป็นน้ำมันปรุงอาหารที่มีจุดเกิดควันสูง กรดพาลมิติกต่ำ ไม่มีกรดไขมันทรานซ์ และมีความไวต่อออกซิเดชั่นต่ำเมื่อได้รับความร้อนสูง แต่ทั้งนี้ ปัจจุบันก็ยังไม่มีน้ำมันทอดประเภทนี้จำหน่ายในประเทศไทย ดังนั้น น้ำมันปาล์มโอลิอีนจึงดูจะเป็นน้ำมันที่เหมาะที่สุดในการทอดอาหารขณะนี้ เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดสารประกอบที่เกิดจากการเสื่อมสลายของน้ำมันระหว่างการทอดที่อุณหภูมิสูง น้อยกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น

“ในเรื่องของผลต่อสุขภาพแล้ว ก็อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้หากบริโภคมากเกินไปและเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น ในแง่ผลเสียของกรดไขมันอิ่มตัวต่อสุขภาพ ผู้บริโภคควรป้องกันตนเอง โดยลดปริมาณและความถี่ในการบริโภคอาหารทอด ส่วนเรื่องสารประกอบที่เกิดจากการเสื่อมสลายของน้ำมันในระหว่างการทอดอาหารนั้น ก็ควรทอดอาหารด้วยอุณหภูมิไม่สูงเกินไป ไม่ทอดด้วยน้ำมันเก่า ซ้ำแล้วซ้ำอีก และควรเปลี่ยนน้ำมันใหม่ทุกครั้ง ที่ทอดอาหาร เพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวเองและครอบครัว” นักวิชาการจากจุฬาฯ กล่าว

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 กันยายน 2547  
 
i drive / i race / i test / I drift
I row / I run / I fun / I ride

Offline O'Pern

  • fear is a mind killer
  • Administrator
  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 7411
  • don't let your fear stand in the way of your dream
    • racing club
 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารตามนโยบายอาหารปลอดภัย พบว่ามีพ่อค้าแม่ค้าบางส่วนนำน้ำมันที่ใช้แล้วมาใช้อีก ที่มักพบมากในท้องตลาด ได้แก่ ปลาท่องโก๋ กล้วยทอด ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ปลาทอด ฯลฯ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารแล้วบางตัวอย่าง มีค่าของสารโพลาร์สูงเกินค่ามาตรฐาน โดยสารโพลาร์จะทำให้ทราบความเสื่อมสภาพของน้ำมัน และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง มะเร็งในเม็ดเลือดขาว กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกประกาศ กำหนดให้น้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ทั้งน้ำมันพืชและน้ำมันจากสัตว์ มีค่าสารโพลาร์ได้ไม่เกิน 25% ของน้ำหนัก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 เป็นต้นไป หากพบใช้อยู่จะมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522

ด้านนายภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า สำหรับประชาชนทั่วไปที่ใช้น้ำมันทอดหรือประกอบอาหารบริโภคระดับครัวเรือน ควรเลือกประเภทน้ำมันที่เหมาะสำหรับการปรุงอาหาร ได้แก่ กรณีทอดควรใช้น้ำมันปาล์มโอเลอิน ส่วนน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย เป็นต้น ควรใช้ในการผัดหรือปรุงอาหารแบบอื่น การใช้น้ำมันทอดแต่ละครั้งต้องใช้ปริมาณพอดีกับอาหารที่จะทอด หากเป็นไปได้ไม่ควรใช้ทอดซ้ำเกิน 3 ครั้ง และการใช้แต่ละครั้งควรกรองตะกอนทิ้งไป เพราะตะกอนนี้หากโดนความร้อนจะเร่งให้น้ำมันเสื่อมสลายเร็วขึ้น และเกิดสารประกอบที่อาจเป็นอันตรายออกมาระหว่างทอดอาหารได้

ข่าวจาก นสพ.มติชน 7-12-47
 
i drive / i race / i test / I drift
I row / I run / I fun / I ride

Offline grandprix

  • Group N Racer
  • **
  • Posts: 54
    • www.club1500cc.com
ขอบคุณครับ ท่าทางต้องงดปลาท่องโก๋ลงบ้างแล้ว

Offline NU

  • Group N Racer
  • **
  • Posts: 74
  • วาดมั่วนะคร๊าบ อย่าว่ากัน ^_^
DRIFT drift ดริฟท์!!