Author Topic: เรื่อง ... ครับ  (Read 9902 times)

Offline O'Pern

  • fear is a mind killer
  • Administrator
  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 7411
  • don't let your fear stand in the way of your dream
    • racing club
เรื่อง ... ครับ
« on: December 09, 2007, 03:54:53 pm »
เรื่อง….. ภาพถ่ายในกระเป๋าของชายคนนั้น

ปี 1999 แม้จะผ่านมาหลายปีแล้ว
แต่ข้าพเจ้ายังจดจำเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่นึกถึงทีไร
ข้าพเจ้าก็อดที่จะชื่นใจ ปลี้มใจ ทุกทั้งที่ข้าพนึกถึง

เพื่อนหญิงของข้าพเจ้าคนหนึ่ง เล่าเรื่องชายลึกลับคนหนึ่งให้ฟังที่เธอพบ
เธอเล่าให้ผมฟังพร้อมๆๆกับรอยยิ้ม และความปลาบปลื้ม ข้าพเจ้าไม่คิดเลยว่า
หลังจากที่ข้าพเจ้าได้ฟังเรื่องของเธออีกประมาณ 1 ปี
ข้าพเจ้าก็ได้พบกับชายลึกลับคนนี้ด้วยตัวเอง

เย็นวันหนึ่งในปี 1999 ที่ประเทศนิวซีแลนด์
วันนั้นเป็นวันที่อากาศค่อนข้างหนาวเย็นและลมแรง วันสุดท้าย
ที่ข้าพเจ้าหมดสัญญาการเช่าหอพัก ข้าพเจ้าต้องขนข้าวของออกจากหอพัก
เพื่อจะย้ายที่อยู่ใหม่ ข้าพเจ้ายืนข้างๆๆสัมภาระ 3-4 กล่อง
ยืนใจจดใจจ่อหารถเพื่อเข้าไปในเมือง วันนั้นเป็นวันที่โชคร้ายมาก
ข้าพเจ้ายืนคอยรถกว่า 2 ชั่วโมง ก็ยังไม่มีรถแท็กซี่ผ่านมา

จนกระทั้งพลบค่ำ มึดสลัวๆๆๆ ก็มีแท็กซี่คันหนึ่งวิ่งผ่านมา
และรับข้าพเจ้าขึ้นรถ ข้าพเจ้าขึ้นรถด้วยความ ว้าวุ่นใจมาก
เพราะชายคนนี้ดูหน้าตาหน้ากลัว ผู้ชายคนนั้นหน้าตาเหมือนคนเอเซีย ผิวคล้ำ
ผมยุ่งรกรุงรังไม่น่าไว้วางใจ ข้าพเจ้าไม่มีทางเลือก ถึงจะกลัวอย่างไร
ถ้าไม่ไปกับเขา ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าจะมีรถแท็กผ่านมาอีกหรือเปล่า
ข้าพเจ้าจึงนั่งรถไปด้วยใจกระวนกระวาย

ในระหว่างนั่งในรถ ชายคนนี้ก็สอบถามถึงที่มาที่ไปของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ามาจากเมืองไทยหรือเปล่า หน้าตาเหมือนคนไทยจังเลย
ข้าพเจ้าแปลกใจมากทำไมเขาจึงสอบถามเรื่องราวบ้านเมืองของข้าพเจ้ามากมายเหลือเกิน
ยิ่งถามข้าพเจ้าก็ยิ่งกลัว

และแล้วแกก็ถามถึงเรื่องส่วนตัวของข้าพเจ้า ซึ่งแกถามเป็นภาษาอังกฤษว่า

"คุณพ่อที่รัก ของคุณเป็นอย่างไรบ้าง ท่านสบายดีไหม "

ข้าพเจ้าก็ตอบไปว่า พ่อสบายดี โทรศัพท์หากันทุกวัน
"สุขภาพท่านเป็นอย่างไรบ้าง ฝากความคิดถึง ฝากความเคารพ
ถึงคุณพ่อคุณด้วยนะครับ ผมคิดถึงท่านครับ"

ข้าพเจ้าก็ตอบไปว่า ได้ครับ แล้วจะบอกให้ กลับถึงบ้านเมื่อไร จะรีบไปบอกเลย 
ข้าพเจ้าตอบไปเพื่อจะให้แกจบๆๆเรื่องที่เราจะต้องคุยกัน
ข้าพเจ้าแปลกใจว่าทำไม    แกถึงคุยกับข้าพเจ้ามากจังเลย
ผิดปกติของคนขับรถแท็กซี่ทั่วไป

ชายคนนี้ขับรถไป นั่งยิ้มไป แกทำไมถึงอารมณ์ดีจังเมื่อแกคุยกับข้าพเจ้า
ในขณะที่    ข้าพเจ้ารู้สึกกลัวแกอย่างบอกไม่ถูก น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่ง

และแล้วชายคนนี้ก็จอดรถที่บ้านพักหลังใหม่ของข้าพเจ้า แกลงจากรถ และกุลีกุจอ
  ขนข้าวของลงมาให้ข้าพเจ้าด้วยหน้าตาที่ยิ้มแย้ม

หลังจากขนของเสร็จ ชายคนนี้ เอื้อมมือมาจับที่บ่าของข้าพเจ้า
แล้วพูดด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนว่า

"น้องเอ๋ย พี่ดีใจมากที่มีโอกาสพบคนไทย
พี่ไม่ได้พบคนไทยมานานแล้วพี่มาอยู่ที่เมืองนี้กว่า 20 ปี
ไม่ค่อยได้เห็นคนไทยมาที่นี่กัน"

" วันนี้พี่ดีใจมาก
เห็นคนไทยแล้วทำให้พี่รู้สึกอบอุ่นเหมือนได้พบกับญาติคนหนึ่งพี่เป็นชาวกัมพูชา
อพยพมาที่นิวซีแลนด์เมื่อหลายสิบปีก่อน

เพราะด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
ที่ได้ให้ที่พักพิงในยามที่เราหนีตาย มาพักในแผ่นดินไทย
พี่ๆๆและครอบครัวถึงได้มีโอกาสเริ่มต้นชีวิตใหม่ มีความหวังและได้ชีวิตใหม่


ชีวิตของครอบครัวของพี่มีได้มาถึงทุกวันนี้เพราะพระมหากรุณาของในหลวงของประเทศไทย"

หลังจากชายคนนี้พูดจบ แกก็เอามือล้วงเข้าไปหยิบกระเป๋าเงินออกมา พร้อมกับพูดว่า

" แม้จะผ่านมาหลายปี พี่เก็บภาพนี้ในกระเป๋าเงินของพี่ตลอดเวลา
พี่เก็บภาพนี้เพราะพระองค์คือผู้มีพระคุณต่อครอบครัวของเรา
เราซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ครอบครัวของเรา รัก
และเทอดทูลบูชาพระองค์ตลอดเวลา
เพราะพระองค์คือที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครอบครัวของเรา"


หลังจากพูดเสร็จ แกก็จับมือของข้าพเจ้า และหยิบธนบัตรในมือของข้าพเจ้า
ซึ่งข้าพเจ้าเตีรยมไว้เพื่อจ่ายเป็นค่าโดยสารให้กับเขา
แต่ชายคนนั้นหยิบธนบัตรจากมือของข้าพเจ้าใส่กระเป๋าเสื้อของข้าพเจ้าแทน
และบอกข้าพเจ้าว่า วันนี้พี่ขอมาส่งน้องชายของพี่นะ "

หลังจากแกจากไป ข้าพเจ้าพึ่งเข้าใจคำถาม ของแกที่ถามเกี่ยวกับพ่อของข้าพเจ้า
พ่อที่รักและเคารพของข้าพเจ้า นั้นแกหมายถึงใคร
และข้าพเจ้าก็เข้าใจทันทีเลยว่า
ทำไมชายคนนี้ถึงเก็บภาพในหลวงและพระราชินีขณะทรงชุดพลางทหาร
เดินออกเยี่ยมพสกนิกร
ข้าพเจ้าเข้าใจในความรู้สึกของชายคนนี้ทำไมเก็บภาพนี้ในกระเป๋าเงินของแกมากว่า
20 ปีแม้จะผ่านมาหลายปี
ภาพในกระเป๋าเงินของชายคนนี้ยังอยู่ในความทรงจำของข้าพเจ้านึกถึงทีไรก็อดปลาบปลื้มไม่ได้ว่า

พระองค์ทรงที่รักยิ่งและพระองค์ทรงอยู่ในใจไม่เฉพาะคนไทยเท่านั้นแต่อยู่ในใจของพี่น้องเพื่อนบ้านของเราด้วยครับ

รักในหลวงครับ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ


Source - miata club of thailand
i drive / i race / i test / I drift
I row / I run / I fun / I ride

Offline O'Pern

  • fear is a mind killer
  • Administrator
  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 7411
  • don't let your fear stand in the way of your dream
    • racing club
Re: เรื่อง ... ครับ
« Reply #1 on: December 14, 2007, 12:48:50 pm »
ผมเจอ "พระเทพ" บนรถไฟฟ้าใต้ดิน (เรื่องไม่น่าเชื่อ แต่เป็นจริง)


เมื่อไม่นานมานี้เองครับ มีโอกาสขึ้น กทม. ไปธุระแถวหัวลำโพง นั่งรถไฟฟ้าใต้ดินไป

ในขณะที่ประตูสถานีสุทธิสารเปิด ก็มีหญิงคนหนึ่งสวมแว่น ใสหมวกแก๊ป ท่าทางคล่องแคล่ว เดินเข้ามายืนตรงหน้าผม

ผมก็ลุกให้ เพราะติดนิสัยจากเด็กต่างจังหวัด ประกอบกับนั่งใกล้สุด

หญิงคนนั้นนั่งลงแล้วถามว่า "ช่วยถือของให้มั้ยค่ะ"
พอดีผมบ้าหอบฟางอยู่ กระเป๋า 2-3 ใบ เลยยื่นกระเป๋ากล้อง+เลนซ์ไปให้

แต่มีชายคนนึงชิงไปถือก่อน ผมก็หันไปมอง เขาก็ยิ้มๆ ขำๆ ผมก็งงๆ เข้าใจว่าเป็นน้องชายหรืออะไรประมาณนั้น

พอกลับหน้ากลับมาดูที่ผู้หญิง
โอ เข่าอ่อนเลย เพราะเพ่งมองกี่ครั้งก็ใช่สมเด็จพระเทพ

พระองค์กำลังเอานิ้วชี้มาจรดที่ปาก พร้อมทำเสียง "จุ๊ ๆ ทำเฉยๆ ไว้ อย่ากระโตกกระตาก"

ผมก็เลยเข่าอ่อน หัวใจตกลงไปตาตุ่ม ดีที่พี่ผู้ชาย (เข้าใจว่าทหารรักษาพระองค์) สะกิด กับรั้งตัวไว้ทันก่อนผมจะลงไปกราบ

แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปร่วมกับพระองค์ ก็เข้าใจเอาเองว่า พระองค์ท่านคงอยากมีความส่วนพระองค์ ถ้าผมถ่ายคนนึง
อีกทั้งขบวนต้องมาถ่ายด้วยแน่


นับได้ว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า ล้นกระหม่อมของผมทีเดียว ที่ได้เฝ้าพระองค์ท่านใกล้ชิดขนาดนี้
เรื่องดีๆ นำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

จากคุณ : พี่คนใต้ใจดี


source - http://www.pantip.com/cafe/ratchada/topic/V6125528/V6125528.html
i drive / i race / i test / I drift
I row / I run / I fun / I ride

RetroDrifter

  • Guest
Re: เรื่อง ... ครับ
« Reply #2 on: December 14, 2007, 02:59:41 pm »
การได้เข้าเฝ้าเบื้องพระยุคลบาท ถือเป็นมงคลสุงสุดแห่งชีวิต ครับ

Offline O'Pern

  • fear is a mind killer
  • Administrator
  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 7411
  • don't let your fear stand in the way of your dream
    • racing club
Re: เรื่อง ... ครับ
« Reply #3 on: January 01, 2008, 07:28:30 am »
รู้สึกเป็นมงคลยิ่งนัก ที่กระทู้แรกแห่งปี 51 ของผมเป็นการโพสเรื่องนี้



80 เรื่องของในหลวงที่เรา (อาจ) ไม่เคยรู้

เมื่อทรงพระเยาว์

1. ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.
2. นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ มีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์

3. พระนาม “ภูมิพล” ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

4. พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช

5. ทรงมีชื่อเล่นว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
6. ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า “H.H. Bhummibol Mahidol” หมายเลขประจำตัว 449

7. ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า “แม่”
8. สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนมอาทิตย์ละครั้ง
9. แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
10. สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11. สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า “บ๊อบบี้”
12. ทรงฉลองพระเนตร (แว่นสายตา) ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำจะต้องลุกขึ้นบ่อยๆ

13. สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่าโทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรอง 3 ทีมากเกินไป 2 ทีพอแล้ว
14. ระหว่างประทับอยู่สวิตเซอร์แลนด์ โดยระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
15. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก “การให้” โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า “กระป๋องคนจน” หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก “เก็บภาษี” หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16. ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า “ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มากค่อยเอาไปซื้อจักรยาน”

17. กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง

 

พระอัจฉริยภาพ

19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก “การเล่น” สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไร ต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
20. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ เพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์
21. ทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)

22. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น
โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
23. ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
24. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ “แสงเทียน” จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง

25. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง “เราสู้”
26. รู้ไหม...? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่ 5

27.  - - - -
28. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทยที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
29. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “นายอินทร์” และ “ติโต” ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่พระมหาชนก ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
30. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และเรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “กีฬาซีเกมส์”) ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510

31. ครั้งหนึ่งทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง ตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
32. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย หรือ “กังหันชัยพัฒนา” เมื่อปี 2536

33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว

34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม
2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง

เรื่องส่วนพระองค์
35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

36. รักแรกพบของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า “น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆ แล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง”

37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท

38. หลังอภิเษกสมรส ทรง “ฮันนีมูน” ที่หัวหิน
39. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน

40. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

41. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพง ไม่ต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น

42. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้นนาฬิกา

43. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคลเพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ

44. พลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอดยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีดและกดเป็นรอยบุ๋ม
45. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้าแม่ถึงตีสี่ตีห้า
พอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับ ถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยู่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน ค่อยๆ เงยพระพักตร์ขึ้นมา น้ำพระเนตรไหลนอง

งานของในหลวง
46. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบันมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ
47. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานที่ต่างๆ จะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง (ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ

48. ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน

49.เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้นจึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
50. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวันโดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน
51. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73 บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัวก็ค่อยๆ เติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
52 .เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
53. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า “ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ”

54. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน

ของทรงโปรด
55. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
56. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังช่าย
57. ทรงเสวยข้าวกล้องเป็นพระกระยาหารหลัก
58. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง

59. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง

60. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศสของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก

61. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆ ใน กทม. ที่ จส.100 ด้วย โดยใช้พระนามแฝง

62. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก

63. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501
เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มีลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อจนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว

64. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯ เป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ

65. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาลที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวลแล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว

รู้หรือไม่?
66. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า “นายหลวง” ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง 67. ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน

68. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆ ทรงโปรดให้กรอกในช่องอาชีพของพระองค์ว่า “ทำราชการ”

69. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิสเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีพระชนมายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียวในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี
70. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า “อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก”

71. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่งจนกระทั่งกุด

72. หัวใจทรงเต้นไม่ปกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่าขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี

73. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่างฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
74. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6 ล้านคน

75. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน

76. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
77. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
78. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง ให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด

79.  - - - -
80. พระราชประวัติในหลวง ฉบับการ์ตูน

source - fw mail จากน้องนุ่น (สินิทรา)
i drive / i race / i test / I drift
I row / I run / I fun / I ride

Offline O'Pern

  • fear is a mind killer
  • Administrator
  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 7411
  • don't let your fear stand in the way of your dream
    • racing club
Re: เรื่อง ... ครับ
« Reply #4 on: May 01, 2009, 01:52:08 pm »
คนซื่อสัตย์ คือ สมบัติของพระราชา
ที่มา หนังสือพิมพ์สยามรัฐฉบับวันศุกร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๑


เมื่อหลายปีก่อน (ประมาณสัก ๑๓ปี) มีนักธุรกิจคนหนึ่งไปหาอาตมาที่วัดสุทัศน์ฯ
เป็นนักธุรกิจที่ทำงานอยู่กับคุณเจริญคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี
เมื่อพบกัน ท่านผู้นี้ก็แจ้งความประสงค์ของการมาพบ และเล่าเรื่องที่เป็นจุดประสงค์ ดังนี้...
"ท่านคงพอจะจำผมได้นะครับ เราเคยพบกันที่บ้านของคุณเจริญคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี
ผมมีเรื่องอยากจะเล่าให้ท่านฟังดังนี้ว่า
เมื่อก่อนผมเป็นครูสอนวิชาภูมิศาสตร์และวิชาประวัติศาสตร์
ปกติผมต้องไปค้นคว้าข้อมูลในหอสมุดแห่งชาติ
ต่อมา ก็มีนักเรียนหญิงคนหนึ่งผูกเปีย ๒ ข้างเข้าไปค้นข้อมูลอย่างจริงจัง
ว่างก็สนทนากันถึงเรื่องวิชาการ
...อยู่มาวันหนึ่งนักเรียนหญิงคนนั้นก็ชวนผมไปเที่ยวบ้าน
โดยบอกว่าจะให้พ่อเลี้ยงข้าวหนึ่งมื้อ ในฐานะที่ให้ความรู้ด้านวิชาการ
โดยมีการนัดแนะกันที่พระราชวังดุสิต สวนจิตรลดา
โดยเธอบอกว่าเมื่อเข้าประตูที่ ๑
แล้วขอให้บอกแก่คนที่เฝ้าประตูด้วยคำพูดนี้ (เป็นคำเฉพาะ)
...ครั้นถึงวันนัดหมายผมก็เดินทางไปโดยรถแท็กซี่
เมื่อเข้าประตูผมก็มิได้สงสัย คงบอกเจ้าหน้าที่ตามนั้น
ครั้นถึงขั้นที่ ๒ ผมก็บอกตามนั้นอีก เจ้าหน้าที่ก็อัธยาศัยดี ให้ความเคารพผมอย่างยิ่ง
แต่พอถึงขั้นที่๓ ผมก็เริ่มเห็นภาพชัดเจนว่า...แท้ที่จริงเด็กผู้หญิงคนนั้นคือ
"สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี"
ซึ่งตอนนั้นยังมิได้เฉลิมพระยศนี้...
...ท่านครับ พอผมนึกออกก็เริ่มสั่นแล้ว
แต่เหตุที่ผมนึกไม่ออกนั้น เพราะผมไม่เคยคิดเลยว่า
เจ้าฟ้าจะสนพระทัยในวิชาการอย่างจริงจัง
เวลาค้นคว้าก็ทรงสืบค้นด้วยพระองค์เองทุกอย่าง
ทรงค้นคว้าและจดจำอย่างขมีขมัน
โดยมิได้มีข้าราชบริพารเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพระองค์
และเวลาที่ทรงสนทนาก็ให้ความนับถือคู่สนทนา
ยิ่งรู้ว่าผมเป็นครูสอนวิชาดังกล่าว
...เมื่อผมรู้ว่านักเรียนหญิงคนนั้นคือสมเด็จพระเทพฯ ผมก็ประหม่า
และแล้วรถแท็กซี่ก็ถึงที่นัดพบ
สักครู่พระองค์ก็เสด็จออกมาแล้วตรัสปฏิสันถาร
ถึงตอนนี้ผมก็ก้มลงกราบกับพื้น
และที่ทำให้ผมสั่นยิ่งขึ้นก็คือ
ตอนนี้ผมรู้แล้วว่าคุณพ่อของเด็กผู้หญิงคนนี้คือ
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
...ท่านครับ
สักครู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จออกมา
ทรงมีพระพักตร์ที่ยิ้มแย้มแล้วตรัสว่า
"เ ห็นลูกสาวบอกว่าเป็นเพื่อนกัน"
เมื่อพระองค์ตรัสดังนี้
ผมก็ก้มลงกราบด้วยความประหม่าเป็นที่สุด แล้วกราบบังคมทูลว่า
"มิเป็นการบังอาจ พระพุทธเจ้าข้า"
...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณตรัสว่า
ขอให้ทำตัวตามปกติไม่ต้องประหม่าหรือกลัวแต่อย่างใด
พระองค์ตรัสขอบใจที่ได้เป็นเพื่อนสนทนาในวิชาการดังกล่าว
จากนั้นพระองค์ก็ตรัสว่า
"อันที่จริงก็มีผู้อยากขอเข้าเฝ้าฯ เป็นจำนวนมาก
บางรายก็ขอนำเงินขึ้นทูลเกล้าถวาย แต่เราก็ไม่สามารถจะรับเงินของบางคนได้
เราจะรับเงินของเขาได้อย่างไร ในเมื่อเงินที่เขานำมาถวายเรานั้น
เป็นเงินที่เกิดจากการขายแผ่นดินของเรา
เราจึงรับเงินนั้นไม่ได้
...ถ้าจะถามพระราชาอย่างเราว่าพระราชาอย่างเราต้องการอะไร
เราก็ขอตอบว่า...พระราชาอย่างเราต้องการคนที่ซื่อสัตย์
เพราะคนที่ซื่อสัตย์ คือ สมบัติของพระราชาอย่างเรา"
...ท่านครับ
ผมก้มลงกราบถวายบังคมพระองค์อีกครั้ง ด้วยความซาบซึ้งน้ำตาไหล
ในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้แก่ครูสอนหนังสือเล็กๆ คนหนึ่ง
พระราชดำรัสของพระองค์มีคุณค่ายิ่งต่อชีวิตของผม
จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานเลี้ยงก๋วยเตี๋ยว
เป็นอาหารที่ผมรับประทานแล้วอิ่มตลอดชีวิต.......
...ท่านครับ จากวันนั้นมา
ชีวิตผมก็เปลี่ยนแปลงไป โดยที่ผมเองก็มิได้รู้ว่าทำไม
ชีวิตของผมซึ่งเป็นครูต้องเปลี่ยนแปลงงานที่ทำโดยมิได้ตั้งใจ
ชีวิตเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ
แต่พระราชดำรัสที่พระองค์ตรัสไว้นั้นจารึกอยู่ในใจผมเสมอ
...ผมอยากจะเรียนท่านให้ทราบเพียงเท่านี้แหละครับ
ถ้าท่านจะกรุณานำไปเล่าให้คนทั้งหลายได้รับทราบ
ก็จะเป็นลาภของคนที่ฟัง
เขาจะได้รู้ว่าพวกเขาควรทำอย่าง ไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนของพระราชา
อาจารย์ท่านนี้เมื่อเล่าจบก็ลากลับด้วยสีหน้าที่อิ่มสุขและน้ำตาที่คลอเบ้าตา
มิใช่เพียงอาจารย์ท่านนี้ที่อิ่มสุขเท่านั้น
อาตมาเองซึ่งเป็นผู้ฟังก็อิ่มสุขน้ำตาคลอเบ้าเช่นเดียวกัน

บทความของ พระราชวิจิตรปฏิภาณ วัดสุทัศน์


Source - Fw mail
i drive / i race / i test / I drift
I row / I run / I fun / I ride

Offline ToppyRacingClub

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 1382
Re: เรื่อง ... ครับ
« Reply #5 on: October 03, 2009, 10:18:16 pm »
เรื่องเล่าในหลวง

น่าปลื้มใจมากที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย
ระยะแรกราวปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา
คราใดที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวลนั้น
จะทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปยังท้องที่ห่างไกลทุรกันดารย่านหัวหิน หนองพลับแก่งกระจาน ด้วยพระองค์เอง
ทำนองเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ห้า
โดยที่ราษฎรไม่รู้ตัวล่วงหน้าว่าทรงมาถึงแล้ว
วันหนึ่งทรงขับรถยนต์พระที่นั่งผ่านไปถึงยังบริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งย่านหมู่บ้านห้วยมงคล อำเภอหัวหิน
ซึ่งราษฎรกำลังช่วยกันตบแต่งประดับซุ้มรับเสด็จกันอย่างสนุกสนานครื้นเครง
และไม่คาดคิดว่าเป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์
ต้องให้ในหลวงเสด็จฯก่อนแล้วพรุ่งนี้ถึงจะลอดผ่านซุ้มได้..
วันนี้ห้ามลอดผ่านซุ้มนี้ เพราะขอให้ในหลวงผ่านก่อนนะ..
ทรงขับรถพระที่นั่งเบี่ยงข้างทางไม่ลอดซุ้มดังกล่าว
วันรุ่งขึ้นเมื่อทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในหมู่บ้านนี้อย่างเป็นทางการพร้อมคณะข้าราชบริพารผู้ติดตามและทรงมีพระดำรัสทักทายกับชายผู้นั้นที่เฝ้าอยู่หน้าซุ้มเมื่อวันวานว่า
”วันนี้ฉันเป็นในหลวง..คงผ่านซุ้มนี้ได้แล้วนะ.."
+++

อีกครั้งหนึ่งที่ภาคอีสาน
เมื่อเสด็จขึ้นไปทรงเยี่ยมบนบ้านของราษฎรผู้หนึ่งที่คณะผู้ตามเสด็จทั้งหลายออกแปลกใจในการกราบบังคมทูลที่คล่องแคล่วและใช้ราชาศัพท์ได้อย่างน่าฉงน
เมื่อในหลวงมีพระราชปฏิสันถารถึงการใช้ราชาศัพท์ได้ดีนี้ จึงมีคำกราบทูลว่า
”ข้าพระพุทธเจ้าเป็นโต้โผลิเกเก่า บัดนี้มีอายุมากจึงเลิกรามาทำนาทำสวน พระพุทธเจ้าข้า.."
มาถึงตอนสำคัญที่ทรงพบนกในกรงที่เลี้ยงไว้ที่ชานเรือน ก็ทรงตรัสถามว่า เป็นนกอะไรและมีกี่ตัว..
พ่อลิเกเก่ากราบบังคมทูลว่า "มีทั้งหมดสามตัว พระมเหสีมันบินหนีไป ทิ้งพระโอรสไว้สองตัว ตัวหนึ่งที่ยังเล็ก ตรัสอ้อแอ้อยู่เลย และทิ้งให้พระบิดาเลี้ยงดูแต่ผู้เดียว"
เรื่องนี้ ดร.สุเมธเล่าว่าเป็นที่ต้องสะกดกลั้นหัวเราะกันทั้งคณะไม่ยกเว้นแม้ในหลวง

+++

มีเรื่องนึงเคยฟังจากผู้ใหญ่เล่าเมื่อนานมาแล้ว
มีช่างไปทำฝ้าเพดานในวัง คนนึงกำลังยืนบนบันได ส่วนหัวอยู่ใต้ฝ้า
อีกคนคอยจับบันไดอยู่ด้านล่าง พอดีในหลวงเสด็จมา
คนที่อยู่ข้างล่างเห็นในหลวงก็ก้มลงกราบ คนอยู่ด้านบนไม่เห็น ก็บอกว่า “เฮ้ย จับดีๆ หน่อยสิ อย่าให้แกว่ง”
ในหลวงทรงจับบันไดให้ เค้าก็บอกว่า “เออ ดีๆ เสร็จงานนี้จะให้เป็นช่างจริง” (สงสัยคงจะเพิ่งเข้ามาทำงานยังไม่ผ่านโปร) พอเสร็จก็ก้าวลง พอเห็นว่าในหลวงเป็นคนจับบันไดให้
ถึงกับเข่าอ่อน จะตกบันได รีบลงมาก้มกราบ
ในหลวงทรงตรัสกับช่างว่า “แหม ดีนะที่ชมว่าใช้ได้ แถมจะปรับตำแหน่งให้เป็นช่างอีกด้วย"

+++

เมื่อครั้งท่านพระชนม์มายุ 72 พรรษา มีการผลิตเหรียญที่ระลึกออกมาหลายรุ่น
เจ้าของกิจการนาฬิกายี่ห้อหนึ่งได้ยื่นเรื่องขออนุญาตนำพระบรมฉายาลักษณ์ของท่านมาประดับที่หน้าปัดนาฬิกาเป็นรุ่นพิเศษ
ท่านทราบเรื่องแล้วตรัสกับเจ้าหน้าที่ว่า "ไปบอกเค้านะ เราไม่ใช่มิกกี้เมาส์"

+++

เรื่องการใช้ราชาศัพท์กับในหลวง ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ใครต่อใครเกร็งกันทั้งแผ่นดิน เพราะเรียนมาตั้งแต่เล็กแต่ไม่เคยได้ใช้เมื่อออกงานใหญ่จึงตื่นเต้นประหม่า ซึ่งเป็นธรรมดาของคนทั่วไป
และไม่เว้นแม้กระทั่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายรายงาน หรือกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทในพระราชานุกิจต่างๆนานัปการ
ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ เคยเล่าให้ฟังว่า ด้วยพระบุญญาธิการและพระบารมีในพระองค์นั้นมีมากล้นจนบางคนถึงกับไม่อาจระงับอาการกิริยาประหม่ายามกราบบังคมทูล จึงมีผิดพลาดเสมอ แม้จะซักซ้อมมาอย่างดีก็ตาม
ครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน มีข้าราชการระดับสูงผู้หนึ่งกราบบังคมทูลรายงานว่า
”ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า พลตรีภูมิพลอดุลยเดช ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกราบบังคมทูลรายงาน ฯลฯ"
เมื่อคำกราบบังคมทูล ในหลวงทรงแย้มพระสรวลอย่างมีพระอารมณ์ดีและไม่ถือสาว่า "เออ ดี เราชื่อเดียวกัน..."
ข่าวว่าวันนั้นผู้เข้าเฝ้าต้องซ่อนหัวเราะขำขันกันทั้งศาลาดุสิดาลัยเพราะผู้รายงานตื่นเต้นจนจำชื่อตนเองไม่ได้

+++

เรามีเรื่องเล่าเกี่ยวกับท่านให้เพื่อนๆ ฟังตั้งหลายเรื่อง วันนี้เริ่มเรื่องนี้ก่อนแล้วกันนะ เรื่องมีอยู่ว่า เหตุการณ์เมื่อปี 2513 วันนั้นท่านทรงเสด็จไปหมู่บ้านท้ายดอยจอมหด พร้าว เชียงใหม่ ผู้ใหญ่บ้านลีซอกราบทูลชวนให้ไปแอ่วบ้านเฮา ท่านก็ทรงเสด็จ ตามเขาเข้าไปบ้านซึ่งทำด้วยไม้ไผ่และมุงหญ้าแห้ง เขาเอาที่นอนมาปูสำหรับประทับ แล้วรินเหล้าทำเองใส่ถ้วยที่ไม่ค่อยจะได้ล้างจนมีคราบดำๆ จับ ทางผู้ติดตามรู้สึกเป็นห่วง เพราะปกติไม่ทรงใช้ถ้วยมีคราบ จึงกระซิบทูลว่าควรจะทรงทำท่าเสวย แล้วส่งถ้วยมาพระราชทานผู้ติดตามจัดการเอง แต่ท่านก็ทรงดวดเอง กร้อบเดียวเกลี้ยง ตอนหลังทรงรับสั่งว่า "ไม่เป็นไร แอลกอฮอล์เข้มข้นเชื้อโรคตายหมด" ซึ้งไหมหล่ะ

+++

เคยมีคนเล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งพ่อหลวงทรงเสด็จไปทีตลาดสด ทรงแวะไปเสวยก๋วยเตี๋ยว แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว เห็นก็สงสัย จึงทูลถามท่านว่า
"ทำไมหน้า เหมือนในหลวงจัง?"
ท่านไม่ตอบอะไรได้แต่ยิ้มๆ ทรงจ่ายเงินค่าก๋วยเตี๋ยวแล้วตรัสชมว่าก๋วยเตี๋ยวอร่อย ส่วนแม่ค้ามารู้ที่หลังว่าเป็นท่านก็ได้แต่ปลื้ม

+++

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ทรงเสด็จไปพระราชทานปริญญาบัตรให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในระหว่างที่ทรงเปลี่ยนในครุย ทรงสูงมวนพระโอสถ แต่ว่าทรงหาที่จุดไม่ได้ ทางอธิการบดีซึ่งเฝ้าอยู่ก็จุดไฟให้พร้อมทูลว่า "ถวายพระเพลิงพระเจ้าข้า" ในหลวงทรงชะงัก ก่อนจะแย้มสรวลน้อยๆกับอธิการบดีว่า "เรายังไม่ตาย ถวายพระเพลิงไม่ได้หรอก"
**ขอพระองค์ทรงเกษมสำราญทุกเวลา***

+++

เคยมีเรื่องเล่าให้ฟังว่า ในหลวงเสด็จไปในถิ่นทุรกันดารเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร มีอยู่ครั้งหนึ่งพระองค์ท่านทรงแจกพระเครื่องให้กับราษฎรจนหมดแล้ว ราษฎรผู้หนึ่งจึงกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานพระเครื่องว่า "ขอเดชะ ขอพระหนึ่งองค์"
ในหลวงทรงตรัสว่า "ขอเดชะ พระหมดแล้ว"
+++

เรื่องที่ 1.
>วันหนึ่งพระองค์ท่านเสด็จเยี่ยมเยียนพสกนิกรของท่านตามปกติที่ต่างจังหวัด
>ก็มีชาวบ้านมาต้อนรับในหลวงมากมายพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาตามลาดพระบาท
>ที่แถวหน้าก็มีหญิงชราแก่คนหนึ่งได้ก้มลงกราบแทบพระบาทแล้วก็เอามือของแกมาจับ
>พระหัตถ์ของในหลวง แล้วก็พูดว่ายายดีใจเหลือเกินที่ได้เจอในหลวง
>แล้วก็พูดว่ายายอย่างโน้น ยายอย่างนี้ อีกตั้งมากมายแต่ในหลวงก็ทรงเฉย ๆ
>มิได้ตรัสรับสั่งตอบว่ากระไร แต่พวกข้าราชบริภารก็มองหน้ากันใหญ่
>กลัวว่าพระองค์จะทรงพอพระราชหฤหัย หรือไม่
>แต่พอพวกเราได้ยินพระองค์รับสั่งตอบว่ากับหญิงชราคนนั้น
>ก็ทำให้เราถึงกับกลั้นหัวเราะไว้ไม่ไหวเพราะ พระองค์ทรงตรัสว่า
>"เรียกว่ายายได้อย่างไร อายุอ่อนกว่าแม่ฉันตั้งเยอะ ต้องเรียกน้าซิ
>ถึงจะถูก"
>เรื่องที่ 2.
>พระองค์ท่านเสด็จไปที่จังหวัดสกลนคร เพื่อเยี่ยมเยียนชาวบ้าน
>และพระองค์ก็ทรงตรัสถามชายคนหนึ่งที่มาเข้าเฝ้าเพราะแขนเจ็บเข้าเฝือก
>ในหลวงทรงรับสั่งถามว่า "แขนเจ็บไปโดนอะไรมา "
>ชายคนนั้นตอบว่า "ตกสะพาน"
>แล้วในหลวงทรงรับสั่งกลับไปอีกว่า " แล้วแขนอีกข้างหนึ่งละ "
>ชายคนนั้นก็ตอบกลับมาอีกว่า "
>แขนข้างนี้ไม่ได้ตกลงไปด้วยตกข้างเดียว"
>ในหลวงของเราก็ทรงพระสรวล
>เรื่องที่ 3.
>พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรที่ ทางภาคใต้
> คือจังหวัดนราธิวาส ทางใต้นี้มีปัญหาเรื่องดินเป็นกรดมีความเค็ม
>พระองค์จึงทรงรับสั่งถามกับชาวบ้าน ที่มาเฝ้ารับเสด็จว่า
>"ดินหลังบ้านเป็นอย่างไร เค็มไหม " ชาวบ้านก็มองหน้ากันแล้วทำหน้างง
>ก่อนตอบกลับมาว่า " ไม่เคยชิมซักที "
>ในหลวงก็รับทรงสั่งกับข้าราชบริภารที่ตามเสด็จว่า
>"ชาวบ้านแถวนี้เขามีอารมณ์ขันกันดีนะ "
>ครั้งหนึ่งหลายๆ ปีมาแล้ว
>พระเจ้าอยู่หัวทรงประชวรนิดหน่อยเกี่ยวกับพระฉวีมีพระอาการคัน
>มีหมอโรคผิวหนังคณะหนึ่งไปเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายการรักษา
>คุณหมอเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโรคผิวหนังแต่ไม่ได้เชี่ยวชาญทางราชาศัพท์
>ก็กราบบังคมทูลว่า "เอ้อ - ทรง... อ้า-
>ทรงพระคันมานานแล้วหรือยังพะยะค่ะ"
>พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระสรวล ตรัสว่า "ฉันไม่ใช่ผู้หญิงนี่
>จะท้องได้ยังไง"
>แล้วคงจะทรงพระกรุณาว่าหมอคงจะไม่รู้ราชาศัพท์ทางด้านอวัยวะร่างกายจริงๆ
>ก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า - เอ้าพูดภาษาอังกฤษกันเถอะ-
>เป็นอันว่าก็กราบบังคมทูลซักพระอาการกันเป็นภาษาอังกฤษไป

+++

มีเรื่องอีกเรื่องหนึ่งค่ะ เกิดขึ้นที่ อ.พร้าว บ้านดิฉันเอง พระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรเผ่าลีซอ พอจะเสด็จกลับ ผู้เฒ่าคนหนึ่งยื่นถุงห่อข้าวให้ท่าน เกรงว่าท่านจะหิวขณะเดินทาง เป็นน้ำพริกตาแดง กับข้าวเหนียวหนึ่งห่อ พร้อมกับบอกในหลวงว่า "หมู่บ้านเฮามันไกล กว่าเฮาจะเดินเข้าเมืองได้ใช้เวลาหลายวัน กลัวว่าท่านจะหิวกลางทาง" ปลื้มไหมคะ เรื่องนี้พ่อเล่าให้ฟัง แต่พ่อไม่ได้เป็นลีซอนะคะ เป็นเพื่อนเฉย ๆ ค่ะ

+++

เช้าวันหนึ่ง เวลาประมาณ 7 โมงเช้า นางสนองพระโอฐ(เขียนไม่ค่อยถูกนะ) ของฟ้าหญิงองค์เล็ก ได้รับโทรศัพท์เป็นเสียงผู้ชาย ขอพูดสายกับฟ้าหญิง ทางนางสนองพระโอฐก็สอบถามว่าใครจะพูดสายด้วย ก้อมีเสียงตอบกลับมาว่า คนที่แบงค์ นางสนองพระโอฐก้อ งง ...งง ว่าคนที่แบงค์ทำไมโทรมาแต่เช้า แบงค์ก้อยังไม่เปิดนี่หว่า พอฟ้าหญิงรับโทรศัพท์แล้วถึงได้รู้ว่า คนที่แบงค์น่ะ ที่แบงค์จริงๆนะ ไม่เชื่อเปิดกระเป๋าตังค์ แล้วหยิบแบงค์มาดูสิ อิ อิ ขนลุกเลย

+++

เรื่องนี้รุ่นพี่ที่จุฬาฯเล่าให้ฟังว่า มีอยู่ปีนึงที่ในหลวงทรงเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร อธิการบดีอ่านรายชื่อบัณฑิตแล้วบังเอิญว่ามีเหตุขัดข้องบางประการ ทำให้อ่านขาดตอน ก็ต้องรีบหาว่าอ่านรายชื่อไปถึงไหนแล้ว ปรากฏว่าในหลวงท่านทรงจำได้ ท่านเลยตรัสกับอธิการไปว่าเมื่อกี้นี้ (ชื่อ.... เค้ารับไปแล้ว และมีอีกปีนึงขณะที่พระราชทานปริญญาบัตรอยู่ดีๆ ไฟดับไปชั่วขณะ ทำให้บัณฑิตคนหนึ่งพลาดโอกาสครั้งสำคัญในการถ่ายรูป พอในหลวงทรงพระราชทานปริญญาบัตรเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะให้พระบรมราโชวาท ท่านทรงให้อธิการบดีเรียกบัณฑิตคนนั้นมารับพระราชทานอีกครั้งเพื่อจะได้มีรูปไว้เป็นที่ระลึก ตื้นตันกันถ้วนทั่วทั้งหอประชุม

เรื่องเล่าค่ะ

------ พับเพียบ ------

... ในครั้งแรก ผมทำงานตามพระราชดำริ โดยไม่ทราบว่าเป็นงานของพระองค์ จนกระทั่งวันหนึ่ง มีคนบอกว่าให้เข้าไปในวังด้วยกันและให้นำระบบสายอากาศชนิดใหม่ขึ้นไปติดตั้ง ก็ไม่ได้คิดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯ มา แต่ว่าแปลกใจทำไมอยู่ดี ๆเจ้าหน้าที่ที่กำลังติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ อย่บนดาดฟ้าของพระตำหนักถึงปีนลงมา ทั้ง ๆ ที่งานยังไม่เสร็จ แท้ที่จริงพระองค์ท่านเสด็จฯ มายืนอยู่ข้างหลัง

ผมเหลียวหลังไปมองนิดหนึ่ง ครั้นพอเห็นพระองค์ท่านก็ตกใจ เป็นอาการวูบ ขึ้นมาทันที นึกอยู่ในใจว่าใช่แล้ว ใช่แน่ ๆ เพราะคิดว่าเหมือนในรูป ผมก็รีบทำความเคารพ แล้วก็ทำอะไรไม่ถูกสิ่งที่ผมจำได้คือเราต้องอยู่ต่ำกว่า จึงรีบคุกเข่าให้ต่ำลงมาเป็นเหมือนชันเข่าเพราะว่าตอนนั้นพระองค์ท่าน ประทับยืนอยู่ ถ้านั่งพับเพียบเลยก็จะต่ำเกินไป เพราะว่าผมต้องพูดอธิบายด้วยปรากฎว่าพระองค์ท่านก็คุกเข่าลงไปด้วย ผมก็เลยนั่งพับเพียบให้ต่ำลงไปอีก
พระองค์ท่านก็ประทับพับเพียบเหมือนกันเลยกลายเป็นว่าวันนั้น นั่งพับเพียบสนทนากัน ๒-๓ ชั่วโมง บนดาดฟ้าพระตำหนักในเวลาช่วง
บ่ายที่ร้อนเปรี้ยง .......

รองศาสตราจารย์ ดร.สุธี อักษรกิตติ์
ผู้สนองพระราชดำริ ในโครงการระบบสื่อสารสายอากาศ และอิเส็กทรอนิกส์


-------- น้ำลดหรือยัง โดย ถาวร ชนะภัย ----------

หลายปีมาแล้วเมื่อครั้งน้ำท่วมภาคใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้รับผลกระทบหนักที่สุดเป็นช่วงเวลาที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้นำเครื่องโทรพิมพ์มาติดตั้งที่ห้องทรงงานใหม่ๆ

ข้าราชสำนักท่านหนึ่งกรุณาเล่าให้ฟังว่าแม้ดึกดื่นเที่ยงคืนแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังไม่เสด็จขึ้นห้องพระบรรทมแต่ทรงคอยติดตามข่าวเรื่องอุทกภัยที่หาดใหญ่อยู่อย่างใกล้ชิดด้วย

ทรงห่วยใยราษฏรจึงทรงส่งคำถามผ่านเครื่องโทรพิมพ์ด้วยพระองค์เองถามไปทางหาดใหญ่ว่า "น้ำลดแล้วหรือยัง"โดยที่ไม่ทราบว่าผู้ส่งคำถามมานั้นคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คำตอบที่มีผ่าน มาทางเครื่องโทรพิมพ์เมื่อเวลาตีสองตีสามมีข้อความที่ตอบด้วยความไม่พอใจว่า"ถามอะไรอยู่ได้ดึกดื่นป่านแล้วคนเขาจะหลับจะนอน"
แต่ตอนท้ายของคำตอบก็ไม่ลืมที่จะบอกด้วยว่า "น้ำลดแล้ว"


--------- เสียงปริศนา -------------

.... .ในวันเสด็จพระราชดำเนิน กลับประเทศสวิต ฯ ขณะที่ประทับรถพระที่นั่ง ไปสู่สนามบินดอนเมืองทรงได้ยินเสียงตะโกนดัง ๆ ว่า

.."ในหลวง อย่าทิ้งประชาชนนะ" ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้น ในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชน ไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้ "

เป็นที่น่าประหลาดว่า ต่อมาอีกประมาณ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบชายที่ร้องตะโกนทูลพระองคไม่ให้ทิ้งประชาชนนั้น เป็นพลทหาร และในปัจจุบันเขาออกไปทำนาอยู่ในต่างจังหวัด เขากราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ไม่ทรงทิ้งราษฎร เขาทูลว่า ตอนที่เขาร้องไปนั้น เขารู้สึกว้าเหว่ และใจหาย
ที่เห็นพระเจ้าแผ่นดิน จะเสด็จไปจากเมืองไทย กลัวจะไม่เสด็จกลับมาอีก เพราะคงจะทรงเข็ดเมืองไทยเห็นเป็นเมืองที่น่ากลัวน่าสยดสยอง เขาดีใจมากที่ได้เฝ้าฯ อีก กราบบังคมทูลถามว่า ..

" ท่านคงจำผมไม่ได้ ผมเป็นคนร้องไม่ให้ท่านทิ้งประชาชน"พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า .."เรานะรึที่ร้อง ?"

"ใช่ครับ ตอนนั้นเห็นหน้าท่านเศร้ามาก กลัวจะไม่กลับมา จึงร้องไปเหมือนคนบ้า"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวทรงตอบ .."นั่นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา"


------------- เราจับได้แล้ว ---------------

ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ

….ครั้งหนึ่งในงานนิทรรศการ "ก้าวไกลไทยทำ" วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 "The BOI
Fair 1995 commemorates the 50th Anniversary of His Majesty King Bhumibol Adulyadej's reign"(Board of Investment Fair 1995 BOI) หลังจากที่เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตามศาลาการแสดงต่างๆ ก็มาถึงศาลาโซนี่ (อิเล็กทรอนิกส์) ภายในศาลาแต่งเป็น
"พิภพใต้ทะเล" โดยใช้เทคนิคใหม่ล่าสุด "Magic Vision" น้ำลึก 20,000 leagueจะมีช่วงให้แลเห็น!ทะเลว่ายผ่านไปมา ปลาตัวเล็กๆ สีสวยจะว่ายเข้ามาอยู่ตรงหน้า
ข้อสำคัญเขาเขียนป้ายไว้ว่าถ้าใครจับปลาได้เขาจะให้เครื่องรับโทรทัศน์พวกเราไขว่คว้าเท่าไหร่ก็จับไม่ได้ เพราะเป็นเพียงแสงเท่านั้น
แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า "เราจับได้แล้ว"พร้อมทั้งทรงยกกล้องถ่ายรูปชูให้ผู้บรรยายดู แล้วรับสั่งต่อ "อยู่ในนี้"
ต่อจากนั้นคงไม่ต้องเล่า เพราะเมื่ออัดรูปออกมาก็จะเป็นภาพปลาและจับต้องได้บริษัทโซนี่จึงต้องน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องรับโทรทัศน์ตามที่ประกาศไว้…


------------- ข้าวผัดไข่ดาว โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล----------------

วันหนึ่งเสด็จฯ เขาค้อเปิดอนุสาวรีย์พอเปิดอนุสาวรีย์เสร็จพระองค์ท่านก็ขอกลับไปที่พระตำหนักเฟื่อจะทรงเปลี่ยนฉลองพระบาทเพราะเดี๋ยวจะไปดูงานในป่าในดง.........เราก็ไม่ได้ทานข้าวไม่มีใครทานข้าว
ตอนนั้นบ่ายสองโมงแล้วก่อนจะเปลี่ยนฉลองพระบาทสักยี่สิบนาทีน่าจะพุ้ยข้าวทันก็รีบวิ่งไปห้องอาหารที่เตรียมไว้ปรากฏว่าพวกที่ไม
ได้ ตามเสด็จเขาทานกันหมดแล้วในนั้นจึงเหลือข้าวผัดติด ก้นกระบะกับมีไข่ดาวทิ้งแห้งไว้ 3-4 ใบ
เราก็ตักเห็นมีข้าวอยู่จานหนึ่งวางไว้มีข้าวผัดเหมือนอย่างเราไข่ดาวโปะใบหนึ่งมีน้ำปลาถ้วยหนึ่งวางอยู่เพื่อนผม ก็จะไปหยิบมามหาดเล็กบอกว่า "ไม่ได้ๆ ของพระเจ้าอยู่หัว ท่านรับสั่งให้มาตัก"
ดูสิครับตักมาจากก้นกระบะเลยผมนี่น้ำตาแทบไหลเลยท่านเสวยเหมือนๆ กันกับเรา......ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


----------หมึกไม่ออก โดยผู้ช่วยสาสตราจารย์ อนงค์รัตน์ สุขุม -------------

……..วันที่ 19 กรกฎาคม 2526 เป็นวันพระราชทางปริญญาบัตรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่นายกสโมสรอาจารย์จะเป็นผู้ดูแลถวายปากกาให้ทรงลงประปรมาภิไธย

แต่ในปีนั้นดิฉันในฐานะอุปนายกสโมสรอาจารย์ได้รับหน้าที่นี้แทนก่อนจะเสด็จประราชดำเนิน เราก็ดูแลความเรียบร้อยทุกอย่าง อย่างระมัดระวังที่สุด
โดยเฉพาะปากกาลองกันหลายครั้งจนมั่นใจว่าไม่มีปัญหาแน่ พอเสด็จฯ มาถึงท่านก็ทรงลงประปรมาภิไธย ปรากฏว่าทรงจรดปากกาลงไปแล้วแต่ไม่มีหมึกออกมา

เราก็ตกใจมากเลยไม่รู่จะทำยังไงดี นึกในใจว่าเป็นความบกพร่องของเราแน่ๆ ลองมากไปจนหมึกหมด
ดิฉันก็เลยถวายกระดาษทิชชูเปล่าๆ ที่อยู่ในมือให้ท่าน เพื่อจะให้ท่านทรงเช็ดปากกาแต่ท่านทรงพระเมตตามากเลย สีพระพักตร์ที่ท่านมองดิฉันเหมือนกับจะตรัสว่า

"ไม่ต้องตกใจ"แล้วก็ทรงนำปากกามาลองที่มือดิฉันที่มีกระดาษทิชชู่ ปรากฏว่าหมึกออกจากนั้นก็ทรงหันไปลงพระปรมาภิไธยในสมุด
พอท่านเสด็จพระราชดำเนินไปแล้ว ทุกคนก็รีบเข้ามาดูกระดาษที่ทรงลองปากกาแผ่นนั้นกันใหญ่ ศาสตราจารย์ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ บอกว่า "พี่ๆ ขอหน่อยเถอะพี่จะเอาไปเป็นมงคล" ก็เลยแบ่งให้อาจารย์ไปส่วนหนึ่ง…


-------- กล้วยไข่ ----------

ผมเคยเข้าไปเล่นคอนเสิร์ตหน้าพระที่นั่งศาลาดุสิตาลัย เมื่อสิบห้าปีมาก่อนพระเทพทรงประชวรหวัดเล็กน้อย แล้วตรัสก่อนพวกผมเล่นกันว่า
วันนี้ไม่มีเสียงกรี๊ดนะเป็นหวัด พอตอนเล่น ผมเลยบังอาจถวายแซวพระองค์ท่าน ว่า ในฐานะรุ่นน้องจุฬาฯ ขอพระราชทานอนุญาต เอ่ยพระนามพระองค์ว่า พี่น้อย ก็แล้วกัน
วันนี้ขอให้พี่น้อย หายหวัดเร็ว ๆ นะครับ คนดูในศาลาดุสิตาลัยเงียบกริบ ผมก็ชัก หนาวสันหลังว่าเหิมเกริมไปหรือเปล่า เพื่อนร่วมวงรีบชิงพูดต่อว่า
มหาดเล็กครับ ช่วยยิงให้ถูกคนด้วยแล้วกัน คนเลยฮากันตึง รอดไป มีเพลงหนึ่งชื่อเพลงกล้วยไข่ ผมก็แปลงเนื้อว่า
แปลกใจจริงพระเทพฯชอบอะไร พระเทพชอบ กล้วยไข่ เพราะว่าพระองค์ทรงโปรด ลัล ลัล ลัล ลา
ตอนไปรับพระราชทานดอกไม้จากพระหัตถ์ ผมไปยกมือไหว้ท่าน ท่านก็ตรัสย้อนผมว่า ใครเค้าไหว้กัน เค้าโค้งจ้ะ จากนั้นท่านก็ตรัสว่า ใครบอกฉันชอบกล้วยไข่ ฉันชอบกล้วยน้ำว้าย่ะ
ผมไม่เคยลืมสักภาพเดียวเลยครับ



----------- เกาะช้าง -----------


มีครั้งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่เสด็จประพาสทางทะเล ระหว่างที่อยู่ในเรือพระที่นั่งทรงตรัสสอบถามนายทหารเรือที่ตามเสด็จว่า"นั่นเกาะอะไร"นายทหารผู้นั้นตอบ "ขอเดชะ...เกาะนั้นมีพระนามว่าเกาะช้างพระเจ้าค่ะ"ทรงแย้มสรวลแล้วตรัสตอบว่า
"ถ้างั้น...เกาะนี้ก้อเป็นญาติฉันนะซิ"นายทหารท่านนั้นคงตื่นเต้นที่ทรงมีพระปฏิสันถารด้วย บอกชื่อเกาะ ไม่ต้องว่าเกาะนั้นมี "พระนาม" ว่าอะไรหรอก แค่บอกว่าเกาะนั้นชื่ออะไรก้อพอ ถ้าใช้ว่าเกาะ นั้นมี "พระนาม" ว่าอะไรนั้น แสดงว่าเกาะนั้นเป็นเจ้านาย ด้วย เพราะใช้คำราชาศัพท์กับเกาะ

-------- ปิดทองหลังพระ ----------

ในคืนวันหนึ่งของปีพ.ศ. ๒๕๑๐ (ยศในขณะนั้นพันตำรวจโท)......หลังจากได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำแล้ว
ในวังไกลกังวล..............ผมจำได้ว่า คืนนั้นผู้ที่โชคดีได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานพระจิตรลดา เป็นนายตำรวจ 8 นาย และนายทหารเรือ 1 นาย....พระเจ้าอยู่หัว
เสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์ ทรงอยู่ในฉลองพระองค์ชุดลำลอง.......ขณะที่ทรงวางพระลงบนฝ่ามือที่ผมแบรับอยู่นั้น
ผมมีความรู้สึกว่าองค์พระร้อนเหมือนเพิ่งออกจากเตา..........ภายหลัง เมื่อมีโอกาสกราบบังคมทูลถาม จึงได้ทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระเครื่ององค์นั้น
ด้วยการนำเอาวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกัน เช่น ดินจากปูชนียสถานต่างๆ ทั่วประเทศ ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าถวายในโอกาสต่างๆ และเส้นพระเจ้า(เส้นผม) ของพระองค์เอง เมื่อผสมกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์เป็นตัวยึดแล้ว จึงทรงกดลงในพิมพ์ (อ.ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาเป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แกะถวาย) โดยไม่ได้เอาเข้าเตาเผา.........

.....หลังจากที่ได้รับพระราชทานแล้ว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทมีความว่า.......” พระที่ให้ไปน่ะ ก่อนจะเอาไปบูชา ให้ปิดทองเสียก่อน แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น ”
........พระราชทานพระบรมราชาธิบายด้วยว่า ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อเตือนตัวเองว่า การทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใคร
หรือประกาศให้ใครรู้ ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว.....

.....ผมเอาพระเครื่องพระราชทานไปปิดทองที่หลังพระแล้ว ก็ซื้อกรอบใส่ หลังจากนั้นมา สมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินองค์นั้น ก็เป็นพระเครื่องเพียงองค์เดียวที่ห้อยคอผม........

.....หลังจากที่ไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่ไกลห่างพระยุคลบาท ผมได้มีโอกาสกลับไปเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวลอีก.....ความรู้สึกเมื่อได้เฝ้าฯ
นอกจากจะเป็นความปีติยินดีที่ได้พระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็มีความน้อยใจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ลำบาก และเผชิญอันตรายนานาชนิด
บางครั้งจนแทบเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ปรากฎว่ากรมตำรวจมิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใดๆ ทั้งสิ้น........

......ก่อนเสด็จขึ้นคืนนั้น ผมจึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า ใคร่ขอพระราชทานอะไรสักอย่างหนึ่ง.................พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า “จะเอาอะไร?”
และผมก็กราบบังคมทูลอย่างกล้าหาญชาญชัยว่า จะขอพระบรมราชานุญาต ปิดทองบนหน้าพระ ที่ได้รับพระราชทานไป พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผลที่ผมขอปิดทองหน้าพระ.....

........ผมกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า....พระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้น นับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้ว ต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด
เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียวอีกด้วย............พระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มพระสรวจ (ยิ้ม) ก่อนที่จะมีพระราชดำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า ปิดทองไปข้างหลังพระเรื่อยๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง.......

รักในหลวงครับ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ที่มา http://www.thainame.net/weblampang/tum_index/page5.html

Offline ToppyRacingClub

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 1382
Re: เรื่อง ... ครับ
« Reply #6 on: October 03, 2009, 10:20:19 pm »
---------- ผักบุ้งลอยฟ้า(พระเทพ) ---------------

ผมเคยไปนั่งทานข้าวต้ม ผักบุ้งลอยฟ้า ที่พิษณุโลก ก็ต้องตะลึง เมื่อเห็นรูป พระองค์ ทรงสนุกกับการถือจานรับผักบุ้ง บนหลังคารถ เด็กที่ร้านเล่าว่า พระองค์ไม่ถือพระองค์เลย
ตรัสล้อเล่นกับเด็กเสิร์ฟด้วย และทรงเสวยกับ ชามข้าวต้มของร้าน ไม่ได้พิเศษจากลูกค้าคนอื่น ทรงประทับบนเก้าอื้ทั่ว ๆ ไปในร้านนึกถึงพระองค์ทีไร ก็รู้สึกตื้นตันทุกที
เจ้าฟ้าหญิงของประชาชนที่แท้จริงเคยอ่านมาจากหนังสือสกุลไทย ช่วงตอบปัญหาของใครจำไม่ได้แล้วมีคนเขียนไปถามเจ้าของคอลัมภ์ว่าจริงหรือเปล่าที่พระองค์เคยเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ยังเมืองทองธานีเพื่อเสวยร้านอาหารโต้รุ่งเค้าก็เขียนตอบว่าจริง


พระองค์เคยเสด็จอย่างส่วนพระองค์จริงๆคือเสด็จไปกับคุณข้าหลวงอีก2 คนไม่มีองครักษ์ติดตามเลย เสด็จยังร้านอาหารตามสั่งทั่วไปริมถนนไม่มีใครจำพระองค์ได้เลยแต่มี 2 สามี ภรรยาคู่หนึ่งเห็นเข้าฝ่ายสามีบอกว่าไม่ใช่สมเด็จพระเทพหรอกเพราะนี่คือร้านอาหารโต้รุ่งแล้วก็ดึกมากแล้วด้วย แต่ฝ่ายภรรยาบอกว่าเหมือนมาก
ก็โต้กันไปโต้กันมาจนพระองค์ทรงได้ยินจึงหันพระพักตร์มาทาง2สามีภรรยานี้แล้วตรัสว่าใช่แต่ขอให้ทำตัวตามสบายเท่านั้นแหละครับ2คนนี้ก็ก้มลงกราบจนคนอื่นๆแปลกใจก็หันมามองกันหมดทั้งร้าน

เจ้าของร้านกับเด็กเสริฟก็เพิ่งทราบจึงรีบเข้า ไปถวายความเคารพพวกพ่อค้าแม่ค้าแถวนั้นก็นำอาหารของร้านตนมาถวายจนกระทั่งเสด็จกลับไปนี่แหละครับ เจ้าหญิงในใจประชาชนพระองค์จริง


-------- ตัวยึกยือ -------------

มนูญ มุกข์ประดิษฐ์
รองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อดีตเลขาธิการ สำนักงานกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ


...... พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จะพระราชดำเนินด้วยพระบาท เข้าไปในป่ายางท่ามกลางฝนตกหนักโดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตามรอยพระยุคลบาทไปไม่ห่าง เป็นระยะทางถึง๒กม.เศษ

.... นี่คือสิ่งที่มิใช่สามัญธรรมดาในความรู้สึก ของผู้คน และความไม่สามัญธรรมดานี้ก็ยิ่งไม่ธรรมดามากยิ่งขึ้น เป็นทวีคูณ เนื่องเพราะบริเวณนี้คือ "ดงทาก" หรือ"รังทาก" อันมีทากชุกชุม ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

...กว่าจะถึงจุดหมาย คือบริเวณพื้นที่ที่จะพิจารณาสร้าง อ่างเก็บน้ำ เพื่อใหม่มีน้ำไว้ใช้ สำหรับพื้นที่๕,๐๐๐ ไร่ใน ๓ เขตตำบล คือ เชิงคีรี มะยูง และรือเสาะ เกือบทุกคนก็โชกฝน และโชกเลือดแม้ทูลกระหม่อมทั้งสองพระองค์ ก็มิได้รับยกเว้น

..... ค่ำวันนั้น ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระตำหนัก ทักษิณราาชนิเวศน์ อากาศปลายฤดูฝน กำลังสบายดวงดาวบนท้องฟ้า เริ่มจะปรายแสง ขบวนรถยนต์พระที่นั่ง ได้หยุดลงอย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุบนทางหลวงที่มืดสงัด เป็นเวลาหลายนาที ถามไถ่ได้ความภายหลังว่า ยังมีทากหลงเหลือ กัดติดพระวรกายอยู่อีก
เมื่อรู้สึกพระองค์ จึงได้ทรงหยุดรถยนต์พระที่นั่ง และรับสั่งให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ช่วยจับทากที่ตัวเป่งด้วยพระโลหิตออกจากพระวรกาย

... ทรงเรียกการทรงงานวิบาก ที่เชิงคีรี ครั้งนี้ในภายหลังว่า "สงครามกับตัวยืกยือ ที่เชิงคีรี"



---------- ทุกข์ยามดึก -------------

พลตำรวจตรีสุชาติ เผือกสกนธ์ผู้อำนวยสำนักงานโครงการพระดาบสอดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข


.....การที่ได้ทรงพระกรุณารับฟัง และติดต่อทางวิทยุตำรวจเป็นประจำ ... จึงทรงทราบความลำบาก ความเดือดร้อนของข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย ... ตำรวจประจำตู้ยามบางคนคับแค้นใจ

เกี่ยวกับปัญหาครอบครัว ปัญหาการครองชีพ เมื่อเสพสุราแล้วครองสติไม่ได้ ไม่รู้จะระบายความในใจกับใคร จึงได้พล่ามบรรยายมาทางวิทยุ บางคนหลับยามไม่พอกดคีย์ ไมโครโฟนค้าง

ทำให้มีเสียงกรนออกอากาศมาด้วย บางคนตะโกนร้องเพลงลูกทุ่ง ออกอากาศมาเป็ฯการแก้เหงา ก็มี.. ที่จัดได้ว่าโชคดี คือ ศูนย์ควบคุมข่ายตำรวจแห่งชาติ "ปทุมวัน" กล่าวคือ
ในยามดึกวันหนึ่งพนักงานวิทยุคนหนึ่งได้ระบายความเดือดร้อน เนื่องจากหิวโหยไม่สามารถ หาอาหารรับประทานได้เพราะต้องเข้าเวรร เมื่อทรงรับฟังแล้วทรงสงสาร จึงได้รับสั่งทางวิทยุ กับผู้เขียนใน

ฐานะที่เป็น ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นโดยตรงว่า "โปรดเกล้าฯ พระราชทานตู้เย็นเพื่อ เก็บอาหารสำรอง สำหรับเวรยามดึกให้ 1 ตู้ ...... "


เรื่อง " เดิมพันของเรา "

ครั้งหนึ่ง เมื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า

" เคยทรงเหนื่อย ทรงท้อบ้างหรือไม่ "

ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสตอบว่า

" ความจริงมันน่าท้อถอยหรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้
เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านคือเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ "

ข้อมูลจาก ไทยรัฐ ฉบับ 5 ธ.ค. 32

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

เรื่อง " ราษฎรยังอยู่ได้ "

ปีพุทธศักราช 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์
ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง
อันเป็นแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในภาคใต้เวลานั้น

ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งล้น ทางกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูล
ขอให้ทรงรอให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เสียก่อน แต่คำตอบที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้รับก็คือ

" ราษฎรเขาเสี่ยงภัยยิ่งกว่าเราหลายเท่า เพราะเขาต้องกินอยู่ที่นั่นเขายังอยู่ได้
แล้วเราจะขลาดแม้แต่จะไปเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของเขาเชียวหรือ "

ข้อมูลจากคำอภิปรายเรื่อง " พระบิดาประชาชน "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

และมีอีกหนึ่งพระกระแสพระราชดำรัส ที่เป็นคำตอบว่า เหตุใดจึงไม่อาจหยุดทรงงานได้

" คนเราจะอยู่สุขสบายแต่คนเดียวไม่ได้ ถ้าคนที่อยู่ล้อมรอบมีความทุกข์ยาก
ควรต้องแบ่งเบาความทุกข์ยากของเขาบ้าง ตามกำลังและความสามารถเท่าที่จะทำได้ "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" ดอกบัวจากหัวใจ "

ที่นครพนม บนเส้นทางรับเสด็จตรงสามแยกชยางกูร - เรณูนคร
บ่ายวันที่ 13 พ.ย. 2498 อาณัติ บุนนาค หัวหน้าส่วนช่างภาพประจำพระองค์
ได้บันทึกภาพในวินาทีสำคัญ ที่กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ

ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ

วันนั้นหลังจากทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร
เสร็จสิ้นในช่วงเช้าแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง
กลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูก จูงหลานหอบกันมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น

ดังเช่นครอบครัวจันท์นิตย์ ที่ลูกหลานช่วยกันนำ แม่ตุ้ม จันทนิตย์ วัย 102 ปี
ไปรอรับเสด็จ ณ จุดรับเสด็จห่างจากบ้าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพู
ให้แม่เฒ่าจำนวน 3 ดอก และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด

เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย
แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรายังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า
แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้น ขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความจงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง
พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า
ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอย่างอ่อนโยน

เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย
ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่เฒ่า แต่แน่นอนว่าแม่เฒ่าไม่มีวันลืม

เช่นเดียวกับที่ ในหลวงไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญที่ทรงพบริมถนนวันนั้น
หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า

" หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ แล้ว ทางสำนักพระราชวัง
ได้ส่งภาพรับเสด็จของแม่เฒ่าตุ้ม พร้อมทั้งพระบรมรูปหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานผ่านมาทางอำเภอพระธาตุพนม ให้แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็นที่ระลึก "

พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ อาจมีส่วนชุบชูชีวิตให้แม่เฒ่ายืนยาวขึ้นอีก ด้วยความสุขต่อมาอีกถึงสามปีเต็ม ๆ

แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ ราษฎรผู้โชคดีที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ 9 สิ้นอายุขัยอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 105 ปี

ข้อมูลจาก " แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ " ภาคพิเศษโดย คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ วารสารไทย

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" เขาเดินมาเป็นวัน ๆ "

"...มีอยู่ครั้งนึง ข้าพเจ้าอายุ 18 ปี ได้ตามเสด็จ...ตอนนั้นเป็นช่วงหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกจังหวัดและอำเภอใหญ่ ๆ ก็เสด็จฯ ประมาณ 9 โมงเช้า เสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรมาเรื่อย ๆ

ทีนี้ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า แหม นานเหลือเกิน ตอนนั้นยังไม่กางร่ม ตอนนั้นยังไม่ค่อยกลัวแดด
ไม่ใส่หมวก ก็รู้สึกแดดเปรี้ยง หนังเท้านี้รู้สึกไหม้เชียว ก็เดินเข้าไปกระซิบท่านว่า พอหรือยัง ก็โดนกริ้ว

" นี่เห็นไหมราษฎรเขาเดินมาเป็นวัน ๆ เพื่อมาดูเราแม้แต่นิดเดียว
แต่นี่เรายืนอยู่ไม่เท่าไรล่ะ ตอนนี้ทนไม่ไหวเสียแล้ว.."

พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ วันที่ 11 ส.ค. 2534

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ


" ต่อไปจะมีน้ำ "

บทความ " น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม ทั่วเขตคามชื่นธารา "
เขียนโดย มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 ธ.ค.2528
ได้เล่าให้ผู้อ่านชาวไทยได้ประจักษ์ถึงเรื่องอัศจรรย์ของ " ในหลวง " กับ " น้ำ "
ที่เกิดขึ้นในคำวันหนึ่งของเดือน ก.พ. 2528

ด้วยความทุกข์ที่เปี่ยมล้นใจอันเนื่องมาจากต้องเผชิญความแห้งแล้งอย่างหนัก
หญิงชราคนนึ่งที่มาเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จได้คลานเข้ามากอดพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กราบบังคมทูลด้วยน้ำตาอาบแก้ม ขอพระราชทานน้ำ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบว่า

" ยายไม่ต้องห่วงแล้วนะ ต่อไปนี้จะมีน้ำ เราเอาน้ำมาให้ "

แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระดำเนินกลับไปยังรถพระที่นั่ง
ซึ่งจอดห่างออกไปราว 5 เมตร ปรากฎว่าท่ามกลางอากาศที่ร้อนแล้ง
จู่ ๆ ก็เกิดฝนตกลงมาเป็นครั้งแรกในรอบปี ทำให้ผู้ตามเสด็จและราษฎรในที่นั้นถึงกับงุนงงไปตาม ๆ กัน

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" เก็บร่ม "

การเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง แม้จะต้องเผชิญกับแดดร้อนหรือลมแรง
ราษฎรก็ไม่เคยย้อท้อที่จะอดทนรอรับเสด็จให้ถึงที่สุด แม้ฝนจะตกหนักแค่ไหน ก็ไม่มีใครยอมกลับบ้าน

ร้อยเอกศรีรัตน์ หริรักษ์ เล่าไว้ในบทความ " พระบารมีปกเกล้าฯ ที่อำเภอท่ายาง "
ตีพิมพ์ในหนังสือ " 72 พรรษาราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์ " ว่า

ครั้งหนึ่งที่โครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง
ปรากฎว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ราษฎรและข้าราชการที่มาเข้าแถวรอรับเสด็จ
ต่างเปียกปอนกันหมด แต่ก็ยังตั้งแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่อย่างนั้น

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาจากเฮลิคอปเตอร์
นายตำรวจราชองค์รักษ์ที่ตามเสด็จ ได้เข้าไปกางร่มถวาย
ทรงทอดพระเนตรเห็นบรรดาข้าราชการและราษฎร
ที่มายืนตั้งแถวรอรับเสด็จอยู่ต่างก็เปียกฝนโดยทั่วกัน

" จึงมีรับสั่งให้นายตำรวจราชองครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงพระดำเนินเยี่ยม
ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเสด็จ โดยทรงเปียกฝน
เช่นเดียวกับข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายที่ยืนรอรับเสด็จในขณะนั้น "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

รักในหลวงครับ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ที่มา http://www.thainame.net/weblampang/tum_index/page5.html

Offline ToppyRacingClub

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 1382
Re: เรื่อง ... ครับ
« Reply #7 on: October 03, 2009, 10:21:47 pm »
" สิ่งที่ทรงหวัง "

ครั้งหนึ่งขณะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้สื่อข่าวต่างประเทศคนหนึ่ง ได้ขอพระราชทานสัมภาษณ์
และได้กราบบังคมทูลถามว่า

การที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร และมีโครงการตามพระราชดำริเกิดขึ้นมากมายนั้น
ทรงหวังว่าจะให้คอมมิวนิสต์น้อยลงใช่หรือไม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งตอบว่า

" มิได้ทรงสนพระทัยว่าคอมมิวนิสต์จะน้อยลงหรือไม่
แต่ทรงสนพระทัยว่า ประชาชนของพระองค์ จะหิวน้อยลงหรือไม่ "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ


" รักถึงเพียงนี้ " และ " จุดเทียนส่งเสด็จ "

บทความชื่อ " แผ่นดินร่มเย็นที่นราธิวาส " ตีพิมพ์ในนิตยสาร " สู่อนาคต " ฉบับพิเศษ
เนื่องในวันเฉลิมฯ ได้เล่าย้อนให้เราได้เห็นภาพความยากลำบากในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทางภาคใต้เมื่อหลายปีก่อน

โดยเฉพาะช่วงก่อนสร้างพระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์นั้น
เป็นที่รู้กันว่าจังหวัดนราธิวาสชุกชุมไปด้วยโจรร้าย โจรปล้นสะดม
และพวกโจรเรียกค่าไถ่ ถึงขนาดที่ในหลาย ๆ หมู่บ้านนั้น
แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่กล้าย่างกรายเข้าไป

ทว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในทุกข์อันลึกล้ำของชาวบ้าน
ที่ทั้งทุกข์เพราะยากจน และทุกข์เพราะภัยคุกคาม จึงได้เสด็จฯ ลงไปเยี่ยมเยียน
เป็นขวัญกำลังใจให้ราษฎรของพระองค์ โดยไม่ทรงหวาดหวั่น
บางวันถึงกับเสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์โดยปราศจากกำลังอารักขา
และบางหมู่บ้านตำรวจเพิ่งถูกคนร้ายแย่งปืนแล้วยิงตายก่อนเสด็จไปถึงเพียงไม่กี่ชั่วโมง

ทรงรักราษฎรถึงเพียงนี้ จึงไม่แปลกที่หญิงชราคนหนึ่งในหมู่บ้านหนึ่งของอำเภอรือเสาะจะ ..

" เข้ามาเกาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร้องไห้แล้วบอกว่า
ไม่นึกเลยว่าพระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไทยชาวพุทธ จะมารักมุสลิมได้ถึงขนาดนี้ "..

บทความเดียวกันได้เปิดเผยต่อไปอีกว่า ที่อีกหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอเดียวกันนั้น

" โต๊ะครูได้พาพรรคพวกมายืนรอรับเสด็จแล้วพูดขึ้นว่า ..
รายอกลับไปเถอะ ประไหมสุหรีกลับไปเถิด ประเดี๋ยวพวกโจรจะลงจากเขา... "

และเมื่อถึงเวลาเสด็จฯ กลับที่มืดสนิทอย่างน่ากลัว โต๊ะครูกับชาวบ้าน
ก็พากันมาจุดเทียนส่งเสด็จตลอดเส้นทางอันตราย
ด้วยความห่วงใยใน " รายอ " และ " ประไหมสุหรี " หรือ พระราชาพระราชินีของพวกเขาอย่างสุดซึ้ง

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" รถติดหล่ม กับ ถนนสายนั้น "

หากย้อนกลับไปค้นหาจุดเริ่มต้นของพระราชกรณียกิจ ในด้านการพัฒนาแล้ว
ชื่อของ " ลุงรวย " และ " บ้านห้วยมงคล " คือสองชื่อที่ลืมไม่ได้

เรื่องราวของ " ลุงรวย " เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2495 หรือ มากกว่าห้าสิบปีล่วงมาแล้ว
ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บ้านห้วยมงคลนี้อยู่ทั้ง " ใกล้และไกล " ตลาดหัวหิน
ใกล้เพราะระยะทางที่ห่างกันนั้นไม่กี่กิโลเมตร
แต่ไกลเพราะไม่มีถนน หากชาวบ้านจะขนพืชผักไปขายที่ตลาดต้องใช้เวลาเป็นวัน ๆ

ห่างไกลความเจริญถึงเพียงนี้ แต่วันหนึ่งกลับมีรถยนต์คันหนึ่งมาตกหล่ม
อยู่ที่หน้าบ้านลุงรวย เมื่อเห็นทหารตำรวจกว่าสิบนายระดมกำลังกัน
ช่วยรถคันนั้นขึ้นจากหล่ม ลุงรวยผู้รวยน้ำใจสมชื่อก็กุลีกุจอออกไปช่วย
ทั้งงัด ทั้งดัน ทั้งฉุด จนที่สุดล้อรถก็หลุดจากหล่ม

เมื่อรถขึ้นจากหล่มแล้ว ลุงรวยจึงได้รู้ว่ารถคันที่ตัวทั้งฉุดทั้งดึงนั้น
เป็นรถยนต์พระที่นั่งและคนในรถนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชินีนาถ

แม้จะตื่นเต้นตกใจที่ได้เฝ้าฯ ในหลวงอย่างไม่คาดฝัน แต่ลุงรวยก็ยังจำได้ว่าวันนั้น
" ในหลวง " มีรับสั่งถามลุงว่า หมู่บ้านนี้มีปัญหาอะไรบ้าง..

ลุงได้กราบบังคมทูลว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดคือไม่มีถนน
จึงนอกจากจะโชคดีได้รับพระราชทาน " เงินก้นถุง " จำนวน 36 บาท
ซึ่งลุงนำไปเก็บใส่หีบบูชาไว้เป็นสิริมงคลจนถึงทุกวันนี้แล้ว

อีกไม่นานหลังจากนั้น ลุงรวยก็ได้เห็นตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งเข้ามา
ช่วยกันไถดินที่บ้านห้วยมงคล และเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น ชาวบ้านก็ได้ถนนพระราชทาน

" ถนนห้วยมงคล " ที่ทำให้ชาวไร้ห้วยมงคลสามารถขนพืชผักออกมาขายที่ตลาดหัวหินได้ภายในเวลาเพียง 20 นาที

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" สามร้อยตุ่ม "

มีหลายหนที่ทรงงานติดพันจนมืดสนิท ท่ามกลางฝูงยุงที่รุมตอมเข้ามากัด
บริเวณพระวรกาย รอบพระศอ พระกร พระพักตร์ รวมทั้งแมลงต่าง ๆ ที่เข้ามารุมรบกวนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะยังทรงทอดพระเนตรแผนที่
อยู่ภายใต้แสงไฟฉาย ที่มีผู้ส่องถวายอยางไม่สะดุ้งสะเทือน
อย่างมากที่ทรงทำคือโบกพระหัตถ์ปัดไล่เบา ๆ เท่านั้น

ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งเล่าเรื่อง " ยุง " ด้วยพระอารมณ์ขันว่า

" ..ที่บางจาก แต่ไม่มีจากหรอกนะ ยุงชุมมากเลย ไปยืนดูแผนที่
เลยโดนยุงรุมกัดขาทั้งสองข้าง กลับมาขาบวมแดง ไปสกลนครกลับมาแล้วถึงได้ยุบลง
มองเห็นเป็นตุ่มแตง ลองนับดูได้ข้างละร้อยห้าสิบตุ่ม สองข้างรวมสามร้อยพอดี.. "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" น้ำท่วมครั้งนั้น "

วันที่ 7 พ.ย. 26 ขณะที่ชาวกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่ง กำลังทนทุกข์หนักกับสภาพน้ำท่วมขัง
น้อยคนที่จะรู้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทรงพยายามหาหนทางบรรเทาทุกข์ให้พวกเขาอยู่อย่างเงียบ ๆ

วันนั้นรถพระที่นั่งแวนแวคคอนเนียร์ แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ราวบ่ายสองโมงเศษ สู่ถนนศรีอยุธยาเลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรี มุ่งสู่ถนนบางนาตราด

ไม่มีหมายกำหนดการ ไม่มีการปิดถนน แม้แต่ตำรวจท้องที่ก็ไม่ทราบล่วงหน้า

รถยนต์พระที่นั่งชะลอเป็นระยะ ๆ เพื่อทรงตรวจดูระดับน้ำ
จนเมื่อถึงคอสะพานสร้างใหม่ที่คลองลาดกระบัง
จึงเสด็จลงจากรถยนต์พระที่นั่งเพื่อทรงหารือกับเจ้าหน้าที่ที่ตามเสด็จ

ทรงฉายภาพด้วยพระองค์เอง ทรงกางแผนที่ทอดพระเนตรจุดต่าง ๆ จนถึงเวลาบ่ายคล้อย
รถยนต์พระที่นั่งจึงแล่นกลับ เมื่อถึงสะพานคลองหนองบอน
รถพระที่นั่งหยุดเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายภาพ
บริเวณน้ำท่วมและทรงศึกษาแผนที่ร่องน้ำอีกครั้ง

ปรากฎว่า ชาวบ้านทราบข่าวว่า " ในหลวงมาดูน้ำท่วม " ต่างก็พากันมาชมพระบารมีนับร้อย ๆ คน
จนทำให้การจราจรบนสะพานเกิดการติดขัด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงโบกพระหัตถ์ให้รถขบวนเสด็จ ผ่านไปจนเป็นที่เรียบร้อยด้วยพระองค์เอง

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ


" เชื่อมั่น "

เย็นย่ำแล้ว แต่ขบวนรถยนต์พระที่นั่งยังไม่หมดภารกิจ เมื่อรถวิ่งกลับมาทางถนนพัฒนาการ
ทรงแวะฉายภาพบริเวณคลองตัน ทอดพระเนตรระดับน้ำแล้วทรงวกกลับมาที่คลองจิก

เวลานั้นฟ้ามืดแล้วเพราะเป็นเวลาจวนค่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงทรงนำไฟฉายส่วนพระองค์ ออกมาส่องแผนที่ป้องกันน้ำท่วมและแนวพนังกั้นน้ำอยู่เป็นเวลานาน

กลายเป็นอีกภาพหนึ่ง ที่สร้างความตื้นตันใจ แก่ประชาชนชาวกรุงเทพฯ อย่างยิ่ง

ประชาชนคนหนึ่งในละแวกเคหะนคร 1 แขวงบางบอน เขตประเวศ บอกว่า

" รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ทรงห่วงใยทุกข์ของราษฎร
เสด็จฯ มาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยพระองค์เอง พวกเราถึงจะทนทุกข์
เพราะน้ำท่วมขังเน่ามาเป็นเวลานาน ก็เชื่อมั่นว่าพระองค์ทรงช่วยพวกเราได้อย่างแน่นอน "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" ฉันทนได้ "

ในเดือนหนึ่งของปี 2528 พระทนต์องค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หักเฉียดโพรงประสาทฟัน พระทนต์องค์นั้นต้องการการถวายการรักษาเร่งด่วน
แต่ขณะนั้นกรุงเทพฯ ก็กำลังประสบปัญหาอุทกภัย ต้องการการบรรเทาทุกข์เร่งด่วนเช่นกัน

เมื่อทันตแพทย์เข้ามาถวายการรักษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า

" จะใช้เวลานานเท่าใด "

ทันตแพทย์กราบบังคมทูลว่า อาจต้องใช้เวลา 1 - 2 ชม.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า

" ขอรอไว้ก่อนนะ ฉันทนได้ วันนี้ขอไปดูราษฏรและช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมก่อน "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" คำสอนประโยคเดียว "

เมื่อนิตยสาร " สไตล์ " ฉบับปี 2530 ได้ตั้งคำถามกับ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล
ถึง " คำสอน " ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประทับอยู่ในหัวใจ
ดร.สุเมธ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ กปร.

ตอบว่า คำสอนประโยคเดียวก็เกินพอนั้นคือพระราชดำรัสที่ว่า

" มาอยู่กับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" ดีใจที่สุด "

สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์มืดมน พระบรมฉายาลักษณ์ไม่เพียงเป็นรูปเคารพบูชา
แต่ยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความศรัทธาที่ช่วยให้มีแรงต่อสู้กับความทุกข์ต่อไปได้
ดัง คุณยายละเมียด แสงเนียมวัย 72 ปี ชาวจังหวัดชุมพร
ผู้ที่เผชิญกับอุทกภัยภาคใต้ในปี 2540 น้ำท่วมบ้านสูงมากจนอยู่อาศัยไม่ได้

" อยู่ ๆ น้ำก็ท่วมมาเร็วมาก ยายต้องไปขออาศัยบ้านคนอื่นเขาอยู่
ต่อมาก็ขึ้นไปอยู่ชั้นบน ออกไปไหนไม่ได้เลย
...พอดีที่บ้านนี้เขาปลูกมะละกอ ต้นมันสูงมาถึงหน้าต่างเราก็เอื้อมถึงพอดี
เลยได้กินข้าวกับมะละกอ ก็กินมาสามวัน มาเมื่อวานผู้ใหญ่บ้านมาบอก
มูลนิธีในหลวงจะเอาของมาแจกยายคิดเลยว่า ไม่อดตายแล้ว
ทุกครั้งที่คนไทยเดือดร้อน ในหลวงจะให้ความช่วยเหลือทุกครั้ง

ของที่ยายได้มา ที่ดีใจที่สุดคือมีรูปของท่านมาด้วย ที่บ้านเสียหายหมดแล้ว ยายจะเอารูปท่านไว้บูชา

ยายพูดแล้วก็ก้มลงกราบพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความจงรักสุดหัวใจ

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" ทุกข์บรรเทา "

การ " ประทับอยู่ในบ้านเมือง " ดังพระราชดำรัสนั้น ในเวลาต่อมาก็เป็นที่รู้กันว่า
มิได้หมายถึงการประทับอยู่ในเมืองหลวงเท่านั้น แต่ยังเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์
จนแทบจะทั่วทุกตารางนิ้วที่พระบาทจะย่างไปถึงได้

ทรงวิทย์ แก้วศรี ผู้เรียบเรียงบทความ " บรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ทรงพระคุณธรรมอันประเสริฐ "
บันทึกไว้ว่า วันที่ 13 ก.ย 2497 ขณะที่ทรงมีพระชนมายุ 26 พรรษา และทรงครองราชย์เป็นปีที่ 8

ปรากฎว่าเกิดเหตุการณ์อัคคีภัยครั้งร้ายแรงขึ้น ที่อำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยือน
ราษฎรชาวบ้านโป่งผู้ประสบภัยในพื้นที่ ทรงทอดพระเนตร
บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้และพระราชทานสิ่งของบรรเทาทุกข์

ทุกข์ในยามยากเพราะสิ้นเนื้อประดาตัวจากภัยเพลิงนั้นมากล้น
แต่ เมื่อได้รู้ว่ายังมีใครสักคนคอยเป็นกำลังใจ ทุกข์สาหัสแค่ไหนก็ยังพอมีแรงกายลุกขึ้นสู้ต่อได้

การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรผู้ประสบภัยในครั้งนั้น
นับได้ว่าเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกในรัชกาล

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" 141 ตัน "

เป็นที่รู้กันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตร
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และหลังจากนั้นบัณฑิตทุกคนก็เฝ้ารอ
ที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์อย่างใจจดใจจ่อ

ภาพถ่ายวันรับพระราชทานปริญญาบัตร กลายเป็นของล้ำค่า
ที่ต้องประดับไว้ตามบ้านเรือนและเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ
ของหนุ่มสาวและความภาคภูมิใจของบิดามารดา

จน 29 ปีต่อมามีผู้คำนวณให้ฉุกใจคิดกันว่า พระราชภารกิจในการพระราชทานปริญญาบัตรนั้น
เป็นพระราชภารกิจที่หนักหน่วงไม่น้อย หนังสือพิมพ์ลงว่า
หากเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละราว 3 ชม.
เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง
น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมดที่พระราชทานมาแล้ว 141 ตัน

ไม่เพียงเท่านั้น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ยังเล่าเสริมให้เห็น
" ความละเอียดอ่อนในพระราชภารกิจ " ที่ไม่มีใครคาดถึงว่า

.." ไม่ได้พระราชทานเฉย ๆ ทรงทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลา
โบว์หลุด อะไรหลุด พระองค์ท่านทรงผูกโบว์ใหม่ให้เรียบร้อย
บางครั้งเรียงเอกสารไว้หลายวัน ฝุ่นมันจับ พระองค์ท่านก็ทรงปัดออก "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

รักในหลวงครับ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ที่มา http://www.thainame.net/weblampang/tum_index/page5.html
« Last Edit: October 03, 2009, 10:24:46 pm by TopRacingClub »

Offline ToppyRacingClub

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 1382
Re: เรื่อง ... ครับ
« Reply #8 on: October 03, 2009, 10:26:42 pm »
" สุขเป็นปี ๆ "

ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้กราบบังคมทูล ขอพระราชทานให้ทรงลดการเสด็จฯ
พระราชทานปริญญาบัตรลงบ้าง โดยอาจงดเว้นการพระราชทานปริญญาบัตร
ในระดับป.ตรี คงไว้แต่เพียงระดับปริญญาโทขึ้นไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับมีพระราชกระแสรับสั่งตอบว่า

" พระองค์เองเสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ 6 - 7 วินาทีนั้น
แต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปี ๆ เปรียบกันไม่ได้เลย "

ที่สำคัญคือ ทรงเห็นว่าการพระราชทานปริญญาสำหรับผู้สำเร็จป.ตรี นั้นสำคัญ
เพราะบางคนอาจไม่มีโอกาสศึกษาชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก

ดังนั้น

" จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง.. "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

" พระมหากษัตริย์ "

เมื่อมีผู้สื่อข่าว bbc ขอพระราชทานสัมภาษณ์เพื่อประกอบภาพยนตร์
เรื่อง The Soul of Nation ในปี 2522 โดยได้กราบบังคมทูลถาม
ถึงพระราชทัศนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริยไทย
พระองค์ได้พระราชทานคำตอบว่า

" การที่จะอธิบายว่า พระมหากษัตริย์ คืออะไรนั้น ดูเป็นปัญหาที่ยากพอสมควร
โดยเฉพาะในกรณีของข้าพเจ้า ซึ่งถูกเรียกโดยคนทั่วไปว่า พระมหากษัตริย์
แต่โดยหน้าที่ที่แท้จริงแล้ว ดูจะห่างไกลจากหน้าที่ที่พระมหากษัตริย์ที่เคยรู้จักหรือเข้าใจกันมาแต่ก่อน

หน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนั้น ก็คือทำอะไรก็ตาม ที่เป็นประโยชน์
ถ้าถามว่า ข้าพเจ้ามีแผนการอะไรบ้างในอนาคต คำตอบก็คือไม่มี
เราไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม
เราก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วสำหรับเรา "

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้วขณะที่ “วาเด็ง ปูเต๊ะ” ผู้เฒ่าวัย 70 ปี
แห่งบ้านบาเลาะ ต. ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
กำลังขะมักเขม้นอยู่กับการดูแลต้นทุเรียนและลองกองในสวน
ช่วงเวลาใกล้ค่ำได้เห็นคนกลุ่มหนึ่งเดินเข้ามา หนึ่งในจำนวนนั้น
ได้กวักมือเรียกให้เข้าไปหา แต่ตัวผู้เฒ่าเองกลับรู้สึกกล้าๆ กลัวๆ ไม่กล้าเข้าใกล้

ผู้เฒ่าเห็นทหารกลุ่มหนึ่งเดินเข้ามา และบอกกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรความเป็นไปได้
ในการสร้างอาคารกั้นน้ำที่คลองน้ำจืดบ้านทุ่งเค็จ ต.แป้น อ.สายบุรี

“ ตอนนั้นเป๊าะทราบแล้วว่าเป็นในหลวง แต่จะเข้าไปใกล้ ๆ ก็ไม่กล้า
เพราะว่านุ่งโสร่งตัวเดียว ไม่ได้สวมเสื้อ พอเข้าไปใกล้ ๆ
ในหลวงก็บอกว่า จะมาขุดคลองชลประทานให้ พอได้ยินอย่างนั้น
เป๊าะก็ดีใจมาก คุยกันเยอะ ท่านถามว่าถ้าขุดคลองสายทุ่งเค็จนี้จะไปสิ้นสุดลงที่ตรงไหน
เป๊าะบอกท่านว่าคลองเส้นนี้ มีที่ดินติดเขต ต.แป้น ทางเหนือขึ้นไปสุดที่ อ.ศรีสาคร
ในหลวงถามต่อว่า ถ้าไปออกทะเลจะมีกี่เกาะ เป๊าะก็ตอบท่านไปว่ามี 4 เกาะ
ท่านก็ชมว่า เก่ง สามารถจำทุกที่ที่ผ่านไปได้ แล้วท่านก็เปิดดูแผนที่ที่นำมาด้วย
แล้วบอกว่า เป๊าะรู้จริง ไม่โกหก ทุกสิ่งที่เป๊าะบอกมีอยู่ในแผนที่ของพระองค์แล้ว ”
เป๊าะเด็งในวัย 90 ปีทบทวนความทรงจำด้วยแววตาสดชื่น

“ ในหลวงคุยกับเป๊าะเป็นภาษามลายู ท่านพูดมลายูสำเนียงไทรบุรี
คุยกันก็เข้าใจเลยพอเจอกันบ่อย ๆ คุยกัน มีความเห็นตรงกัน ท่านก็เลยรับเป๊าะเป็นพระสหาย
เป๊าะบอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่บอกท่านไป ทั้งหมดเป็นความจริง พูดโกหกไม่ได้จะเป็นบาป ” เป๊าะเด็๋ง กล่าว

หลังจากได้กราบบังคมทูลเส้นทางขุดคลองในโครงการพระราชดำริแล้ว
ในครั้งนั้นผู้เฒ่าแห่งบ้านเบาะเลาะ ยังได้ถวายที่ดินเพื่อดำเนินโครงการพระราชดำริอีกด้วย
และหลังขุดคลองชลประทานดังกล่าวเสร็จแล้ว ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จฯ มาทรงงานและประทับแปรพระราชฐานที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส
เป๊าะเด็งก็จะไปเข้าเฝ้าฯ แทบทุกครั้ง หรือบางครั้งถ้าหากคิดถึงพระองค์มาก ๆ
เป๊าะเด็งก็จะไปขอเข้าเฝ้าถึงพระราชวังสวนจิตรลดา
“ เวลาถึงหน้าทุเรียน ลองกอง จำปาดะ ก็จะนึกถึงในหลวงตลอด
ถ้าท่านมาที่นี่ ก็เอาไปถวายที่นี่ บางปีท่านไม่ได้มา เป็าะก็ส่งผลไม้ไปถวายท่าน
ทางไปรษณีย์ ส่งอีเอ็มเอสไปเลย เวลาไปส่ง เป๊าะเขียนหนังสือไม่เป็น
ก็บอกเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ว่า จะส่งของไปให้ในหลวงที่สวนจิตร เขาก็จัดการให้ ” เป๊าะเด็ง เล่าด้วยภาษามลายูผ่านล่าม

เป๊าะเด็ง บอกว่า ผลไม้ที่ส่งไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้นถึงพระหัตถ์เสมอ
เพราะทุกครั้งที่มีโอกาสได้เข้าเฝ้า ทั้งสองพระองค์มักจะมีรับสั่งว่า

“ ขอบใจ ผลไม้ที่ส่งไปให้ ได้รับแล้ว ”

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง
มาเยี่ยมเยียนราษฎรที่บ้านละเวง เป๊าะเด็งก็ได้ไปเข้าเฝ้า

“ บอกท่านว่า จะเอาเงาะ ลองกองมาให้ ท่านก็บอกว่า ไม่เอา ปีนี้ผลไม้ราคาไม่ดี
ไม่มีคนเข้ามาซื้อ ลำบาก ให้เป๊าะเก็บไว้ให้ลูกหลานกินเถอะ
เมื่อวันก่อนในหลวงก็ฝากอินทผลัมมาให้ เป๊าะเองเวลามีผลไม้ดี ๆ
จะคิดถึงท่านมาก ๆ ลูก ๆ ของท่านทุกคนเวลามา เป๊าะก็ได้ไปหา ทุกคนพูดภาษามลายูได้ ”

เป็าะเด็ง เล่าว่า เสียค่าส่งผลไม้ไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งละ 1,000 กว่าบาท
เป๊าะเด็งอยากให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
ได้เสวยผลไม้ที่ส่งไปถวาย เช่นเดียวกับที่ดินที่ถวายไป เป็าะเด็งก็ไม่เคยคิดเสียดายแม้แต่น้อย
และหากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระประสงค์จะใช้ประโยชน์ที่บริเวณไหน
ที่เป็นของเป๊าะเด็งแล้ว เป๊าะเด็งพร้อมที่จะทูลเกล้าฯถวายให้ทั้งหมด
“ เมื่อในหลวงมาที่ อ.แม่ลานครั้งล่าสุด พอเจอเป๊าะก็เข้าไปกอดเลย
ไม่ได้พูดอะไรกับท่าน ท่านรู้นิสัยเป๊าะดีว่าไม่ค่อยพูดอะไร ท่านก็เรียกเป๊าะ ”

“ คิดถึงท่านที่สุดเลย ” เป๊าะเด็ง บอกผ่านล่ามเมื่อถูกถามว่า
รู้สึกอย่างไรหากไม่ได้เจอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนาน ๆ

เป๊าะเด็ง ยังกล่าวถึงปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า

“ ไม่รู้ว่าโคลนมาจากไหน ” เพราะที่ผ่านมาไทยพุทธและมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ชาวบ้านด้วยกันเองไม่เคยมีความขัดแย้งแบ่งแยก แต่ปัญหานี้ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
ออกไปทำมาหากินไม่ได้ ไม่กล้าออกไปทำงาน ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์รู้สึกไม่สบายใจเลย
เพราะศาสนาไม่เคยทำให้เกิดความแตกต่างหรือทำให้เกิดการแตกแยกกัน

แม้จะมีปัญหาความไม่สงบเกิดขึ้นอยู่ทั่วไปพื้นที่ต่าง ๆ
แต่สำหรับความรู้สึกของชาวไทยมุสลิมอย่างเป๊าะเด็ง ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง
ไม่เคยมีความรู้สึกแบ่งฝักฝ่ายและความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านทั้งไทยพุทธและมุสลิม
ในหมู่บ้านโดยเฉพาะกับคนรุ่นเก่า ๆ ยังเหมือนเดิม

“ คนที่ไม่หวังดี มีน้อย ถ้าเป็นผู้ไม่หวังดีจริง ๆ เขาจะเข้าไปอยู่ในป่า
แต่อยู่หลาย ๆ วันจะอยู่ได้ยังไง เป๊าะสงสัยจะเป็นคนอื่น คนก่อการร้ายเดี๋ยวนี้
ไม่ได้อยู่ในป่าเหมือนก่อน แต่มักจะอยู่ในตลาดไม่รู้ว่าเป็นแผนการของใคร
ปัญหานี้ชาวบ้านหนักใจ แต่ในหลวงคงหนักใจยิ่งกว่าพวกเราอีก เพราะประชาชนของพระองค์เดือดร้อน ”

เมื่อถามว่าคิดอย่างไร กับปัญหาที่รัฐอ้างว่า ความไม่สงบที่เกิดขึ้น
เพราะมีกลุ่มคนที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน และมีการเรียกร้องเอารัฐปัตตานีกลับคืน
เป๊าะเด็ง กล่าวว่าการนำรัฐปัตตานีคืนจะเป็นไปได้อย่างไร ที่คนสามจังหวัด
จะอยู่กันอย่างแคบ ๆ ประเทศเปรียบเหมือนรั้วบ้าน อยู่ที่กว้าง ๆ กับอยู่ที่แคบ ๆ
อย่างไหนดีกว่ากัน ต้องถามชาวบ้านว่าต้องการแบบไหนดี

“ สิ่งพูดออกมาเป็นความจริงทั้งนั้น เมื่อก่อนเราจะไปไหนมาไหน
ไม่ต้องเป็นห่วง แต่ทุกวันนี้จะออกไปไหนก็ไม่สบายใจ เป๊าะก็กลัว
ชาวบ้านแถวนี้ก็กลัวไม่กล้าออกไปไหน กลัวเขาซุ่มอยู่ในป่า ” เป๊าะเด็ง กล่าว

เมื่อถามว่าเขาที่ว่านี้เป็นใคร ? คำตอบสั้น ๆ ที่ได้รับจากผู้เฒ่าใจดีคนนี้คือ

“ ไม่รู้เหมือนกัน ถ้ารู้ก็จะไปบอกในหลวง ”

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

“ ทุกคนรู้จักลุงวาเด็ง ”

อภิรักษ์ สะมะแอ นายอำเภอสายบุรี

ลุงวาเด็งเป็นที่รู้จัก ของชาวบ้านและข้าราชการใน ต.ปะเสยะวอดี
เพราะเป็นผู้ถวายที่ดินตามโครงการพัฒนาพรุแฆแฆ เพื่อขุดคลองชลประทาน
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินในปี 2535

ลุงเป็นพระสหายของในหลวงจริง ๆ ทุกพระองค์ที่เสด็จฯ แปรพระราชฐานมาที่นราธิวาส
จะเชิญลุงวาเด็งเข้าเฝ้าทุกครั้ง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา
ท่านองคมนตรีพลากร สุวรรณรัตน์ได้นำอินทผลัมพระราชทานจากในหลวง
ไปมอบให้ลุงวาเด็งที่บ้าน แกจะเป็นห่วงในหลวงมาก ๆ เวลาหน้าผลไม้
ก็จะส่งผลไม้อีเอ็มเอสทางไปรษณีย์ไปถวายในหลวงทุกปี ลุงผูกพันกับในหลวงมาก ๆ
ตอนที่ทราบข่าวว่าคุณพุ่มถึงแก่อสัญกรรม ก็อยากจะไปเฝ้าในหลวง แต่ก็ไม่ได้ไป

ลุงวาเด็งเป็นคนแก่ที่มีอัธยาศรัยไมตรีดี เป็นคนน่ารักไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร
เมื่อตอนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ มาประทับที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ลุงก็ได้มีโอกาสไปเข้าเฝ้า

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

รักในหลวงครับ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ที่มา http://www.thainame.net/weblampang/tum_index/page5.html

Offline ToppyRacingClub

  • Authentic Drifter
  • *****
  • Posts: 1382
Re: เรื่อง ... ครับ
« Reply #9 on: October 03, 2009, 10:28:00 pm »
“ พระสหาย ”

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปโครงการพัฒนาพรุแฆแฆ อ.สายบุรี จ.นราธิวาส
ซึ่งพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมขนาดใหญ่ใช้ประโยชน์ไม่ได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้ศึกษาหาวิธีระบายน้ำ
ในที่ลุ่มยามน้ำหลาก และเก็บกักไว้ใช้ยามหน้าแล้ง ชาวบ้านจะได้มีน้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก
และเพื่อให้ได้ข้อมูลชัดเจนจึงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง
ณ บ้านเจาะใบ ต.แป้น อ.สายบุรี และได้ประทับทอดพระเนตรพรุแฆแฆด้านตะวันตก
และทรงมีพระราชดำริกับชาวบ้านเป็นเวลานาน

จนกระทั่งได้ข้อมูลใหม่จากชาวบ้านจึงสนพระทัยที่จะเสด็จฯไปทอดพระเนตร
ความเป็นไปได้ในการสร้างอาคารกั้นน้ำที่คลองน้ำจืด บ้านทุ่งเค็จ
แต่ติดด้วยเวลาเย็นแล้ว ในขณะที่ไม่ได้เตรียมเส้นทางไว้รอรับเสด็จล่วงหน้า

ที่สำคัญเป็นเส้นทางทุรกันดาร และรถยนต์ยังเข้าไปไม่ถึงจุดหมาย เจ้าหน้าที่จึงกราบบังคมทูลว่าเสด็จฯ ไปไม่ได้

“ ไปได้ ” พระราชดำรัสเพียงสั้น ๆ รถยนต์พระที่นั่งเคลื่อนตัวลึกเข้าไปในหมู่บ้าน
ท่ามกลางฝุ่นฟุ้งกระจาย จนรถคันหลังเกือบจะไม่เห็นรถคันหน้า
เมื่อสิ้นสุดเส้นทางรถยนต์จึงเสด็จฯ ตามทางเท้าเล็ก ๆ สองข้างรกชัฎต่อไปอีกไกลด้วยพระบาท
เมื่อถึงชายคลองน้ำจืดบ้านทุ่งเค็จนั้นตะวันลับขอบฟ้าพอดี
ทรงพิจารณาแผนที่ด้วยแสงจากไฟฉายเป็นเวลานาน
ท่ามกลางความมืดมิดและความตึงเครียดของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แต่มิได้ทรงปริวิตกแต่อย่างใด

ไม่นานนักก็มีเงาตะคุ่มของผู้คนเป็นวงรอบเมื่อที่เดินทางมา
เมื่อรู้ว่าผู้ยืนเด่นกลางดงไม้ในสวนลึก คือ พระเจ้าแผ่นดิน
นายวาเด็ง หนึ่งในบรรดาชาวไทยมุสลิมวัยกว่า 70 ปี ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ
พร้อมกับชาวบ้านคนอื่น ๆ ด้วยโสร่งตัวเดียวไม่สวมเสื้อ

นายมนูญ มุกข์ประดิษฐ์ ปัจจุบันคือ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ
เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.
ซึ่งตามเสด็จเพื่อถวายงาน ได้บันทึกเหตุการณ์นี้เมื่อ 30 กันยายน 2535 ไว้ว่า
ลุงวาเด็งมีโอกาสได้เข้าเฝ้าทั้งชุดนั้นอย่างใกล้ชิด แล้วยังได้ถวายคำตอบ
เพื่อทรงถามข้อมูลได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อรู้ว่าเสด็จพระราชดำเนินมา
เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือ ลุงวาเด็งจึงกราบบังคมทูลเป็นภาษาพื้นบ้านว่า
ดีใจมาก แต่ก็เหลียวซ้ายแลขวาผิดปกติ แล้วก็ตัดสินใจกราบบังคมทูลอย่างฉะฉานว่า
พระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาเยี่ยมทั้งที ไม่มีอะไรจะถวายเลย
ผลไม้ในสวนเพิ่งเก็บขายได้เงินมา 20,000 บาทก็นำไปซื้อเครื่องสูบน้ำ
ทั้งสวนเหลือทุเรียนผลเดียว หนำซ้ำยังดิบ

มีเสียงเย้าว่า เครื่องสูบน้ำนั่นไง ยังใหม่อยู่ด้วย

“ ถอดเอาขึ้นรถขนไปเลย ขอถวายพระเจ้าอยู่หัว ” ลุงวาเด็งกล่าวเด็ดเดี่ยว
โดยไม่เสียเวลาคิด แล้วยิ้มซื่อโดยไม่คิดว่าเป็นการพูดเล่น และด้วยท่าทียินดี
ที่จะสละสมบัติมีค่าชิ้นเดียวซึ่งได้มาด้วยหยาดเหงื่อ และแรงกายจากการทำงานมาทั้งปี
ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ที่ตามเสด็จฯ เกิดความรู้สึกตื้นตันใจ
เมื่อเห็นอากัปกิริยาอันเป็นธรรมชาติที่ไม่ได้เสแสร้งของลุงวาเด็ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสรวลอย่างมีความสุขไม่ต่างไปจากลุงวาเด็ง

(ข้อมูลจากนิตยสารอีคอนนิวส์ ฉบับที่ 335 วันที่ 2 สิงหาคม 2542)

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

~*~*~ รักแรกพบ ....... ของ ในหลวง กะพระราชินี ~*~*~

~*~*~ รักแรกพบ ~*~*~
รักแรกพบ ....... ของ ในหลวง กะพระราชินี
โดย..... ย้อนหลังไป ปี พุทธ ศักราช ๒๕๒๑

ปี ๒๕๒๑
ที่…สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชทานสัมภาษณ์
ในภาพยนตร์ สารคดีเรื่อง " ขวัญของชาติ "

ออกเผยแพร่ ทางสถานีโทรทัศน์บีบีซี กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
พระราชทานสัมภาษณ์ถึง ...." รักแรกพบ " มีความตอนหนึ่งว่า .......

สำหรับ.... ข้าพเจ้า... เป็นการ " เกลียดแรกพบ " มากกว่า " รักแรกพบ "

เนื่องเพราะ ….. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.... รับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย ๔ โมง
แต่…… จริงแล้วเสด็จมาถึง ๑ ทุ่ม ช้ากว่านัดหมายตั้ง ๓ ชั่วโมง
ทรงทำให้ ข้าพเจ้าต้องซ้อมถอนสายบัวอยู่จนแล้วจนเล่า
จึง เป็นการ " เกลียดเมื่อแรกพบ " มากกว่า " รักเมื่อแรกพบ "

ข้าพเจ้า......ไม่ทราบมาก่อนว่า พระองค์ท่านทรง…..รัก
ข้าพเจ้า เพราะเวลานั้นอายุเพิ่งย่าง ๑๕ ปี
ตั้งใจไว้ว่าจะเป็นนักเปียโน..... เป็นนักเปียโนที่แสดงในงานคอนเสิร์ต
ตอนพระองค์ท่านประทับที่โรงพยาบาล
หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ มีพระอาการหนักมาก
ตำรวจเขาโทรศัพท์ไปกราบบังคมทูล สมเด็จพระราชชนนี
พระองค์ท่าน รีบเสด็จไปทันที
แต่แทนที่......พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระราชปฏิสันถารกับพระองค์ท่าน
กลับทรงหยิบรูปข้าพเจ้าออกมาจากกระเป๋า
………โดยที่ข้าพเจ้าไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่า
พระองค์ทรงมีรูปของข้าพเจ้าอยู่แล้ว……………
พระองค์ ก็ตรัสให้นำตัวข้าพเจ้าเข้าเฝ้า
......พระองค์ทรง รักข้าพเจ้าตอนนั้น..........

ข้าพเจ้าคิดถึงแต่เรื่องที่จะอยู่กับคนที่ข้าพเจ้ารักเท่านั้น
ไม่ได้นึกไปไกลถึงหน้าที่ และ ภารกิจ....ของพระราชินีเลย
……………มีต่ออีกนิดว่า........

ในหลวงเคยประทานสัมภาษณ์คล้าย ๆ กับว่า
วันที่พระองค์ทรงไปล่าช้านั้น เพราะติดภารกิจบางอย่าง
แต่พอไปถึงก็เห็นสาวน้อย คนหนึ่ง ทำหน้ามุ่ย ไม่พอใจอยู่ (ที่ต้องรอนาน)

หลังจากวันนั้นพระองค์ก็ทรงหลงรักแรกพบครั้งนั้น
จนกระทั่งมาประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์.................

รักในหลวงครับ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ที่มา http://www.thainame.net/weblampang/tum_index/page5.html